11.30.2556

Anarchist black cross




Anarchist Black Cross

 ABC ( Anarchist Black Cross ) เป็นกลุ่มอนาคิสต์ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือกลุ่มนักโทษทางการเมืองที่ถูกรัฐ ตำรวจจับกุม โดยเริ่มต้นนั้นชื่อ The Anarchist Red Cross ตั้งขึ้นในประเทศรัสเซีย และยังทำหน้าที่จัดตั้งกลุ่มป้องกันตัวเองจากการถูกเนื่องมาจากทางการเมืองของทหารรัฐบาลในยุคนั้น 

จนกระทั่งเกิดสงครามกลางเมืองในรัสเซีย ก็เปลี่ยนชื่อเป็น Anarchist Black Cross เพื่อป้องกันความสับสนกับชื่อของกาชาดสากล ( Red Cross ) ที่เข้ามาช่วยเหลือในช่วงสงครามกลางเมือง และเมื่อพรรคบอลเซวิคสามารถยึดอำนาจได้ ขบวนการอนาธิปัตย์จึงต้องย้ายไปอยู่ในยุโรป ( ทั้งนี้เนื่องจากมีการปราบปรามกลุ่มอนาธิปัตย์อย่างรุนแรงจากพรรคบอลเซวิค ) 


ช่วงแรกอยู่ที่กรุงเบอร์ลิน และย้ายมาที่อิตาลีในปี 1930 และในปี 1960 ก็ย้ายไปอยู่ที่อังกฤษ เข้าไปมีบาทสำคัญในการช่วยเหลือกลุ่มนักโทษการเมืองในสงครามกลางเมืองสเปน ( ซึ่งสงครามกลางเมืองในสเปนครั้งนั้นถือว่าเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญของขบวนการอนาธิปัตย์นิยม )  ปัจจุบันก็ได้ขยายตัวเองไปสู่ประเทศอื่นๆ อีกมาก


กลุ่ม ABC ให้ความสนใจกับสถานการณ์ของนักโทษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นักโทษที่เป็นอนาธิปัตย์นิยม และกลุ่มที่ต่อสู้ทางชนชั้น โดยเข้าไปติดต่อพูดคุยและนำเรื่องราวของพวกเขาเหล่านั้นมาจุดประกายให้แก่การต่อสู้ และระดมทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ เช่นด้านกฎหมายควบคู่ในกับการจัดตั้ง เคลื่อนไหวประท้วงต่อกรณีการจับกุมนักโทษการเมือง

สิ่งที่ทำให้ ABC แตกต่างจากลุ่มรณรงค์เรื่องนักโทษการเมืองอื่นๆ มีสองประการคือ หนึ่ง พวกเขารณรงค์ต่อต้านระบบนักโทษ และต่อต้านสังคมที่สร้างระบบนี้ขึ้นมาด้วย และการดำเนินการของพวกเขานั้นกระทำมาจากจิตสำนึก สองคือพวกเขาเชื่อมั่นในการต่อต้านโดยตรงเพื่อสร้างสังคมที่ปราศจากรัฐ และปราศจากชนชั้น พวกเขาจึงร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอนาธิปัตนิยมต์ปฏิวัติ ที่ต่อต้านระบบเสรีนิยม ปัจเจกนิยม หรือระบบกฎหมาย

ในฐานะของนักอนาธิปัตย์ พวกเขาจึงเชื่อมั่นในการปฏิบัติการทางตรง ( Direct Action ) และการจัดตั้งองค์กรแบบมีส่วนร่วมในที่ทำงาน ในโรงเรียน ในชุมชนและบนท้องถนน ในความหมายของการทวงคืนอำนาจเหนือชีวิตของพวกเราและร่วมสร้างสังคมที่เกื้อกูล ( Mutual Aid ) และร่วมมือกัน ( cooperation ) 

พวกเขาเชื่อว่า ระบบนักโทษไม่สามารถจะควบคุมสังคมอะไรได้เลยนอกจากการครอบงำทางชนชั้นเท่านั้น เขาเชื่อว่าสังคมที่อิสระจะต้องหาทางเลือกในการหรือหนทางที่มีปฏิสิทธิที่จะต่อต้านอาชญากรรมทางสังคมแต่การจะลดอาชญากรรมทางสังคมลงคงไม่ใช่มีเพียงแค่นั้น แต่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองด้วย เพราะเงื่อนไขเหล่านี้ปกปิดปัญหารากเหง้าของการต่อต้านอาชญากรรมทางสังคม และหาเหตุผลให้แก่การดำรงอยู่ระบบนักโทษ

 เป้าหมายแรกของพวกเราคือ การเปลี่ยนแปลงรากฐานอันนี้ เราต้องต่อสู้เพื่อสังคมที่ปราศจากรัฐ สังคมที่ร่วมมือปราศจากชนชั้น ปราศจากอภิสิทธิ์ต่าง ๆ การครอบงำบนพื้นฐานของเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ มันไม่เพียงแค่ที่เราจะต้องสร้างขบวนการเคลื่อนไหวของคนรากหญ้าเท่านั้น เรายังต้องสามารถปกป้องขบวนการเหล่านี้ด้วย ABC จึงทำหน้าที่ในการปกป้องผู้ที่ถูกจับกุม ถูกข่มเหงรังแก ถูกนำตัวไปจากขบวนการของพวกเขา


( เอ้อ แปลแล้วอาจะไม่รู้เรื่องนิดหน่อยนะครับ ไม่เก่งภาษาอังกฤษ ดูต้นฉบับได้ที่นี่ครับ http://www.anarchistblackcross.org/ )


Credit
 http://www.anarchistblackcross.org/
- User:Ngaochan

The circle A



 The circled-A

The circled - A ( มันยังไม่มีคำเรียกที่เหมาะสมเป็นภาษาไทย ผมขอใช้ภาษาอังกฤษไปก่อน ) เป็นสัญลักษณ์ที่ได้รับความนิยมมากกว่า ธงดำ และธงแดงดำ ( อาจจะเนื่องจากว่ามันง่ายที่จะเอาไปทำเป็น graffiti- graffiti ก้อเหมือนกันที่ยังไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย ส่วนใหญ่ใช้ทับศัพท์ไปเลย ตัวอย่างของกราฟฟิติ คือการพ่นสีเป็นรูปหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ ตามกำแพง จริงมีบทความเกี่ยวกับกราฟฟิติ ไว้ผมจะเอามาโพสต์ให้อ่านกัน )

 Peter Marsall ได้เขียนถึงที่มาที่ไป สัญลักษณ์ดังกล่าวนี้น่าจะมาจากงานเขียนของ Proudhon  ที่ชื่อ " Anarchy is Order. " ขณะเดียวกัน Peterson ให้ความเห็นว่ามันเป็นสัญลักษณ์ของ เอกภาพและความตกลงปลงใจ ( a symbol of unity and determination )  ( อันนี้ไม่แน่ใจ เพราะ determination ของสายอนาคิสม์ยุคนี้มักจะพูดถึงการจัดการตัวเอง ด้วย แบบว่าไม่แม่นภาษาอังกฤษจริง ๆ เล้ย เฮ้อ ) ซึ่งเกิดมาจากแนวคิดในประกาศแนวทางสมานฉันท์อนาธิปัตย์นิยมสากล


                อย่างไรก็ดีที่มาของสัญลักษณ์นี้ก็ยังไม่ชัดเจนมากนัก หลายแนวคิดระบุว่า สัญลักษณ์นี้เริ่มต้นจากกลุ่มพั๊งค์ในช่วงปี 1970  แต่ก็สามารถมองย้อนกลับไปในยุคแรกจากงานของ Peter Marsall ที่อ้างว่าสัญลักษณ์นี้เกิดจากคำขวัญของ พรูดองส์ ที่กล่าวว่า อนาธิปไตยคือแบบแผน ( Anarchy is Order ) แล้วกลายเป็นที่มา The circled - A ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก แต่มันก็ไม่ใช่การปรากฏตัวครั้งแรกของสัญลักษณ์นี้ ในเดือนพฤศจิกายน 1956 กลุ่ม Alliance Ouvriere Anarchiste ( AOA ) ที่ก่อตั้งขึ้นที่กรุงบัสเซล ก็ใช้สัญลักษณ์นี้

 และหากดูในสารคดีของ BBC ในช่วงสงครามกลางเมืองสเปน ( เรื่องนี้หากใครอยากรู้เรื่องสงครามกลางเมืองสเปน ที่เป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของกลุ่มอนาปัตย์นิยม ผมมีหนังสือแนะนำเล่มหนึ่งชื่อว่า แด่คาโทโลเนีย เป็นงานเขียนของ จอร์จ ออร์เวย์ คนที่เขียน Animal Farm หรือที่มาที่ไปของคำว่าBig Brother หนังสือนี้เก่าพอสมควรครับแปลออกมาประมาณปี 2523 ถ้าจำไม่ผิด เอาไว้ผมจะหาข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกันนะครับ ) ทหารที่เป็นสมาชิกของกลุ่มอนาธิปัตย์นิยม ก็ใช้สัญลักษณ์นี้ติดบนหมวกเช่นกัน  นี่เป็นเพียงความรับรู้เพียงเล็กน้อยถึงที่มีที่ไปของ The circled - A Cycle A

ขอโทษนะครับที่เรียบเรียงนานไปหน่อย เนื่องจากงานประจำและไม่ค่อยเก่งภาษาอังกฤษ แล้วออกมาแบบไม่ค่อยเข้าท่านัก ผมกำลังคิดจะแปล Black Block อย่างง่าย เพื่อจะได้ทำความเข้าใจแบบเร็ว ๆหนะครับ มีใครสนใจอยากตำหนิติเตียนหรือซักถามอะไรก็ช่วย ๆ กันแลกเปลี่ยนนะครับ


Credit

- user : Ngaochan

Black block



Black Bloc

Black Bloc คืออะไร ?

Black Bloc เป็นรูปแบบการรวมตัวกัน และเป็นรูปแบบความสัมพันธ์กันของกลุ่มอนาธิปัตย์ในช่วงเวลาที่มีกิจกรรมการชุมนุมประท้วง  Black Bloc มักจะนิยมใช้ในการเปลี่ยนแปลงแบบปฏิบัติการไปสู่ปฏิบัติการ แต่เป้าหมายหลักคือการสร้างความสมานฉันท์เพื่อต้องเผชิญหน้ากับตำรวจปราบจราจล และช่วยนำพากลุ่มอนาธิปัตย์ไปสู่เป้าหมายที่ดำเนินการต่อต้าน วิพากษ์วิจารณ์ในครั้งนั้น ๆ ให้สำเร็จ

Black Bloc เป็นกลุ่มองค์กรหรือไม่ ?

Black Bloc เป็นยุทธวิธี ไม่ใช่กลุ่มหรือองค์กร เหมือนกับเราไม่สามารถเป็นกลุ่มอารยะขัดขืน ( Civil Disobedience Group ) ได้  ฉะนั้น Black Bloc ก็ไม่สามารถเป็นองค์กรได้เช่นเดียวกัน บางคนมีความเข้าใจที่ผิดว่า ใครสักคนหนึ่งสามารถเข้าร่วมกับองค์กร  Black Bloc จึงไม่มีองค์กร Black Bloc ในการชุมนุมประท้วง มีเพียงขบวนการเคลื่อนไหวของนักอนาธิปัตย์นิยมเท่านั้น คุณคิดถึงได้เพียงแค่การรวมกลุ่มกันชั่วคราวของกลุ่มอนาธิปัตย์นิยมในยามฉุกเฉินขณะการชุมนุมเท่านั้น Black Bloc คือยุทธวิธีเหมือนกับอารยะขัดขืน

ทำไมถึงเป็น Black bloc ?

            มีเหตุผลหลายประการที่ทำไมนักอนาธิปัตย์ถึงต้องใช้ Black Bloc ในการชุมนุมประท้วง เหตผลเหล่านั้นประกอบด้วย 
1. ความสมานฉันท์ เมื่อต้องสร้างพลังของกลุ่มอนาธิปัตย์ขณะที่ต้องเผชิญหน้ากับตำรวจ และเป็นหลักการพื้นฐานของการเดินขบวนเพื่อความสมานฉันท์ของชนชั้นกรรมาชีพผู้ใช้แรงงาน 

2. เพื่อให้มองเห็นได้ชัด Black Bloc ในขบวนพาเหรดที่แสดงออกถึงความสนุกสนาน 


3. ความคิดเห็น เป็นการแสดงจุดยืนในการวิพากษ์วิจารณ์ของกลุ่มอนาธิปัตย์ในการชุมนุมประท้วง 


4. การช่วยเหลือเกื้อกูลและเสรีภาพในการรวมตัว เตรียมพร้อมต่อมุมมอง เช่น ทำอย่างไรให้กลุ่มที่รวมตัวกันสามารถดำเนินไปด้วยกันได้ตลอด ในกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ และมีเป้าหมายพื้นฐานที่ชัดเจน 


5. ขยายประเด็นให้กว้างขึ้น เป็นวิธีการขับเคลื่อนการชุมนุมประท้วงให้ข้ามพ้นจากการเพียงแค่การปฏิรูป และเรียกร้องต่อรัฐให้แก้ไขความอยุติธรรม

Black Bloc ส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงหรือไม่ ?

            อีกครั้ง Black Bloc เป็นเพียงยุทธวิธีที่ใช้ปฏิบัติการในการประท้วง เป็นยุทธวิธีที่ให้การตัดสินขึ้นอยู่กับคนในกลุ่ม ดังนั้นจึงไม่อาจจะมีข้อตกลงกันล่วงหน้าได้ในกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องยุทธวิธี แต่มันยอมรับยุทธวิธีที่แตกต่างหลากหลาย

ทำไม Black Bloc จึงต้องปะทะกับกลุ่มตำรวจ ?

                ในช่วงที่คุณทำการประท้วงอยู่บนถนน ตำรวจก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะปรากฏตัว และพยายามแก้ไขปัญหา  ประชาชนก็ย่อมจะต้องการแสดงออกถึงสิทธิในการชุมนุมบนท้องถนน หรืออาจจะอยู่หน้าสถานที่หรือตึกอะไรสักแห่ง ตำรวจก็สามารถจะปรากฏตัวออกมาขัดขวาง หรือพยายามจะแก้ไขปัญหา ภาพคุณเห็นความรุนแรงเกิดขึ้นในท้องถนน ในระหว่างที่ชุมนุมว่ามาจากผู้ชุมนุม แท้จริงแล้วความรุนแรงทั้งหมดนั้นเกิดจากตำรวจ ตำรวจมักจะโจมตี Black Bloc ที่มีผู้ชุมนุมจำนวนมากที่ปราศจากการยั่วยุใด ๆ และกลุ่มผู้เข้าร่วมบางคนก็เลือกที่จะตอบโต้กลับไป

                ประการที่สอง ตำรวจก็อยู่บนท้องถนน เมื่อกลุ่มอนาธิปัตย์ไม่เห็นด้วยกับความโหดร้ายของตำรวจ แสวงหาการยุติระบบตำรวจและนักโทษ เป้าหมายของพวกเรามีอย่างเต็มเปี่ยม และมากด้วยพลัง เมื่อตำรวจคือโฉมหน้าที่โหดร้ายของทุนนิยม เป็นดั่งสุนัขเฝ้ายามของคนรวย และพวกเขาก็อยู่ในแนวหน้า เมื่อกลุ่มอนาธิปัตย์ปรากฏตัวเพื่อปฏิบัตการสงครามทางชนชั้น หรือต่อต้านความร่ำรวย

คนที่เข้าร่วม Black Bloc จะต้องใส่ชุดดำใช่ไหม ?

            ไม่ สีดำเป็นสัญลักษณ์ของอนาธิปัตย์นิยม นั่นคือหนึ่งเหตุผลที่เรียกว่า Black Bloc นักอนาธิปัตย์นิยมมักจะแต่งชุดดำเพื่อให้สีดำ กลายเป็นสีทางการเมืองของพวกเรา และสีดำก็ช่วยให้ไม่มีความเป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันมากนักของผู้ชุมชนบนท้องถนน เมื่อตำรวจปราบจลาจลทำการถ่ายวิดีโอผู้ชุมชนทุกคน นั่นก็เป็นทางหนึ่งที่ทำให้พวกเราแต่งชุดดำและคลุมหน้าสีดำ

Black Bloc เป็นการรวมกลุ่มของอันธพาลวัยรุ่นใช่หรือไม่ ?

            Black Bloc มีผู้เข้ร่วมในวัยที่แตกต่างกัน แม้แนวโน้มจะประกอบไปด้วยคนรุ่นใหม่เป็นส่วนมาก ซึ่งก็สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะประชากรของผู้เข้าร่วมการชุมนุม แต่ก็มีผู้เข้าร่วม Black Bloc จำนวนไม่น้อยที่อายุมากกว่า 30 ปี เรามีรายงานที่แสดงให้เห็นว่า Black Bloc มีกลุ่มคนในรุ่นยุคปี 50 - 60

            ดังนั้นเมื่อมีคนกล่าวหาว่า Black Bloc เป็นการรวมกลุ่มของอันธพาลวัยรุ่น จึงถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติทางอายุ และเป็นกระบวนการสร้างความเป็นชายขอบให้แก่ผู้คน เพราะว่าพวกเราต่อสู้ด้วยยุทธวิธีนี้บางครั้งนำไปสู่การโจมตีทรัพย์สินและความรุนแรง นักกิจกรรมส่วนหนึ่งไม่ยอมรับนักกิจกรรมที่ต่อสู้ด้วยวิธีการโจมตีทรัพย์สิน ข้อเข้าใจผิดในเรื่องที่ว่า Black Bloc เป็นกลุ่มอันตพาลวัยรุ่นนั้น เป็นข้อปฏิเสธที่ไม่มีน้ำหนักต่อปฏิบัติการและการเมืองของการต่อสู้ด้วยยุทธวิธี Black Bloc สิ่งหนึ่งที่ข้อกล่าวหาเหล่านี้ไม่ได้พูดถึงคือ พวกเราประสบความสำเร็จ พวกเราเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

Black Bloc ทั้งหลาย จะต้องโจมตีทรัพย์สินใช่ไหม ?

ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ Black Bloc เมื่อครั้งประท้วง WTO ที่ซีแอตเติ้ล ( ปฐมบทของการเคลื่อนไหวในยุคใหม่  ผู้แปล ) กลุ่ม N30 ได้ทำให้ Black Bloc กลายเป็นจุดสนใจของทั่วโลก พวกเขาต่อสู้ด้วยกิจกรรมหลายรูปแบบ รวมถึงการโจมตีทรัพย์สิน นั่นไม่ใช่สิ่งทำโดยไร้เหตุผล หรือการทำลายทรัพย์สินของรัฐอย่างไร้เดียงสา แต่มันกระทำโดยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ดีไม่ใช่ว่ากลุ่ม N30 ทุกคนจะโจมตีทรัพย์สิน มีเพียงกลุ่มที่มาจาก Eugene Oregon

ทำไมสมาชิก Black Bloc บางคนถึงใส่หน้ากาก ( ปิดหน้า ) ?

นักอนาธิปัตย์นิยมที่ใช้ยุทธิวิธี Black Bloc แล้วสวมหน้ากากหรือปิดหน้า ด้วยเหตุผลหลายประการ เหตุผลหลักคือป้องกันไม่ให้มีภาพปรากฏในวีดีโอของตำรวจซึ่งจะนำไปสู่การกลายเป็นบุคคลในบัญชีแดงไป ซึ่งตำรวจจะใช้หลักฐานนี้ในการควบคุม และข่มขู่ไม่ให้นักกิจกรรมเหล่านั้น เข้าร่วมการชุมนุมหรือเคลื่อนไหวทางสังคม โดยตำรวจจะใช้กฎหมายเข้ามาจัดการได้

 หน้ากากหรือการคลุมหน้า สนับสนุนการไม่มีลักษณะเฉพาะและหลักความเสมอภาคของมนุษย์ แทนที่ระบบที่มีผู้นำ การตะโกนคำขวัญของกลุ่มผู้ประท้วงผ่านเครื่องขยายเสียง  ด้วยการที่ให้ในกลุ่มตัดสินใจด้วยตนเอง พวกเราป้องกันต่อการแสดงอัตลักษณ์บุคคล ในกลุ่มผู้ที่ต้องการต่อสู้ด้วยวิธีการที่ขัดต่อกฎหมาย และเพื่อให้สามารถหลุดรอดเพื่อต่อสู้ต่อไปได้อีก ท้ายที่สุด มาจากงานเขียนชิ้นหนึ่งของรองผู้บังคับการมาร์กอส ( โฆษกของขบวนการ ZAPATISTA ที่เป็นแรงบันดาลใจของกลุ่มเคลื่อนไหวบางกลุ่มในการเคลื่อนไหวทางต่อต้านทุนนิยมเสรีนิยมใหม่ทั่วโลก เอ้อ หนึ่งในนั้นมีผมรวมอยู่ด้วย ฮ่าๆ  ๆ อ่านเรื่องของพวกเขาได้ที่นี่ครับ ซาปาติสต้า: การปฏิวัติของวันพรุ่งนี้  - ผู้แปล ) ในกลุ่มอนาธิปัตย์นิยม Black Bloc บางคนก็ไม่ใส่หน้ากากหรือปิดหน้าในกลุ่มหรอก เพียงแต่พวกเราเป็นส่วนหนึ่งของคนที่ “ ออกไปจากความโดดเด่น ” ( ผมว่าอ่านเรื่องนี้จากบทความนี้ดีกว่านะ ผมแปลไม่เข้าท่าเท่าเขาหรอก เพราะคำของเขาสวยมาก ฮ่าๆ ๆ รองผู้บัญชาการมาร์กอส:ชายไร้ใบหน้าหลังหน้ากากสกี  )

ตัวอย่างของยุทธวิธีแบบ  Black Bloc มีอะไรบ้าง ?

                ยุทธวิธีเปลี่ยแปลงจาก Black Bloc สู่ Black Bloc โดยปรกติจะรวมถึง การไม่ให้ถูกจับกุม และการการคล้องแขน การไม่ให้ถูกจับ จะอยู่ในกลุ่มที่ของคนที่ไม่ต้องการจะถูกจับตัว ใช้ได้ดีในกรณีที่เรามีจำนวนคนมากกว่าตำรวจ ที่ได้ผลเพราะตำรวจจะตกใจกับการที่นักกิจกรรมพยายามที่จะปลดปล่อยใครบางคน ส่วนการคล้องแขนหรือการล๊อค ช่วยให้กลุ่มอยู่ร่วมกัน และทำให้ตำรวจมาจับใครหรือพาใครสักคนในกลุ่มไปได้ยากขึ้น

( ท้ายเรื่อง สิ่งที่ผมแปลและเรียบเรียงมานั้น เกิดจากการตีความของผมนะครับ ที่สำคัญผมไม่เก่งภาษาอังกฤษขนาดแปลออกแล้วตรงเป๊ะ แต่เก็บรวบรวมเอาประเด็นหลัก ๆ มา ผมเอามาจาก ถามตอบเกี่ยวกับ Black Bloc มา มันง่ายดีสำหรับผมครับ ดูภาษาอังกฤษที่นี่ก็จะดีครับ http://www.infoshop.org/blackbloc_faq.html )


Credit

http://www.infoshop.org/blackbloc_faq.html
- user : Ngaochan


เสรีนิยม : Liberalism, อนุรักษ์นิยม : Conservatism, ฟาสซิสม์ : Facism



เสรีนิยม 


Liberalism

คําว่าเสรีนิยมไม่ได้ถูกนํามาใช้เฉพาะทางการเมืองเท่านั้น แต่มันยังหมายถึงอุดมการณ์ที่เกี่ยวข้องค่านิยมต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ไม่ว่าจะเป็นการต่อต้านลัทธิทหาร และต่อต้านรัฐสวัสดิการ อุดมการณ์เสรีนิยมยังได้ถูกนํ ามาใช้ในความหมายว่าใจกว้าง ( Generous ) นักปฏิวัติ ( Reformist ) หรือนักทดลอง ( Experimental ) อีกด้วย

ต้นกําเนิดของอุดมการณ์เสรีนิยมซึ่งสามารถย้อนกลับไปได้ถึงช่วงศตวรรษที่ 17 ในช่วงการการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ( Glorious Revolution ) เพื่อต่อต้านการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นักคิดคนสําคัญในอุดมการณ์นี้คือจอนห์ ล็อค ( John Locke )  ซึ่งเขาได้สร้างพื้นฐานของแนวความคิดแบบเสรีนิยม ที่ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เราสามารถมองแนวความคิดเรื่องเสรีนิยมได้เป็นดังนี้


1. เสรีภาพส่วนบุคคล ( Individual Liberty )

เสรีภาพส่วนบุคคลเป็นสิ่งแรกและเป็นสิ่งสําคัญที่สุดของพวกเสรีนิยม เสรีภาพส่วนบุคคลหมายถึงเสรีภาพที่คนแต่ละคนมีในตัวเอง สามารถทําอะไรก็ได้ด้วยความเต็มใจ โดยไม่มีอํานาจใด ๆ เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของปัจเจกบุคคล 

เป็นที่น่าสังเกตว่าแนวความคิดเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคลนี้มักจะนําเข้ามาจากตะวันตก ไม่ได้มีต้นกําเนิดในตะวันออก เพราะทางตะวันออกเชื่อว่า หากทุกคนมีเสรีภาพส่วนบุคคลแล้ว สังคมอาจจะเดือดร้อน เพราะแต่ลคนทําตามความต้องการของตัวเอง


 สําหรับชาวตะวันออกเชื่อกันว่าบุคคลจะต้องให้ความเคารพต่อสังคมก่อน เมื่อไม่มีใครละเมิดสิทธิของสังคม บุคคลก็จะไม่ได้รับการละเมิดสิทธิ สังคมตะวันออกจึงให้ความสํ าคัญกับสังคมโดยรวม มากกว่าบุคคลนี่เองเป็นึความแตกต่างที่นําไปสู่การโต้เถียงอย่างไม่มีวันจบในเรื่องเสรีภาพในคําจํ ากัดความของตะวันตกและตะวันออก


2. ธรรมชาติของมนุษย์ ( Human Nature )

พวกเสรีนิยมเป็นพวกที่มีทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติของมนุษย์ พวกนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ว่าเกิดมาเป็นคนดีอยู่แล้ว แต่ละคนมีความสมบูรณ์อยู่ในตัวเองโดยที่ไม่จําเป็นต้องมาอยู่ร่วมกัน 

การรวมตัวกันเป็นสังคมของมนุษย์เกิดขึ้นเพราะต้องการให้เกิดรัฐบาลที่จะทําสิ่งที่พวกเขาไม่สามารถทําเองได้ อาทิเช่นการแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ การจัดการศึกษา สุขภาพหรือการสาธารณูปโภค ความเชื่อที่ว่า มนุษย์เกิดมาดีอยู่แล้วนี้ ทํ าให้พวกเสรีนิยมเชื่อมั่นในตัวมนุษย์เป็นอย่างมาก


3. เหตุผล ( Reason )

เสรีนิยมให้ความสํ าคัญต่อการใช้เหตุผล และเชื่อมั่นว่าหากมีการใช้เหตุผลแก้ปัญหาต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นสงคราม, การก่อการร้าย, ยาเสพติด หรือการแย่งชิงทรัพยากรจะต้องแก้ไขได้ นอกจากนี้พวกเขายังเชื่อว่าสงครามเกิดขึ้นเพราะการเข้าใจผิดหรืออาจะเป็นการใช้เหตุผลไม่เพียงพอ 

ดังนั้นหากสามารถเพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดได้ อาชญากรรมเกิดขึ้นไม่ใช่เพราะคนเลว แต่เป็นเพราะภาวะบีบขึ้นทางสังคมหากสังคมดีก็จะไม่มีอาชญากร


4. ความก้าวหน้า ( Progress )

พวกเสรีนิยมมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับความก้าวหน้า พวกเขาเชื่อมั่นว่าหากขยายความรู้และเหตุผลและปรับปรุงเศรษฐกิจ สังคมจะพัฒนาไปด้วยกันเป็นเส้นตรง นอกจากนี้คนเราจะต้องหันหน้าออกจากความเชื่อเหนือธรรมชาติไปสู่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

5. ความเท่าเทียมกัน ( Equality )

พวกเสรีนิยมสนับสนุนความเท่าเทียมกันของโอกาส ( Equality of Opportunities ) และมีความเชื่อมั่นว่าหากทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกัน แต่ละคนจะดึงความสามารถของตัวเองนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด

6. ความเป็นสากล ( Universalism )

ถึงแม้ว่าพวกเสรีนิยมจะสนับสนุนให้แต่ละคนสามารถคิดได้ด้วยตัวเอง แต่พวกเสรีนิยมกลับไม่ค่อยยอมรับความแตกต่างของแนวความคิดที่ตรงกันข้ามกับพวกเดียวกัน 

ยกตัวอย่างเช่นพวกเสรีนิยมเชื่อว่าสิทธิมนุษยชนสามารถใช้ได้เหมือนกันทั่วโลก และพยายามกดดันให้ประเทศอื่น ๆ ยอมรับในแนวความคิดของตัวเอง เพราะแนวความคิดของตัวเองใช้การได้ทั่วโลก ตัวอย่างเช่นเรื่องสิทธิมนุษยชน ที่เป็นที่ถกเถียงกันจนถึงปัจจุบันว่าเป็นสิ่งสากลตามที่บางกลุ่มกล่าวอ้าง หรือเป็นวัฒนธรรมของแต่ละชาติ


7. ค่านิยมต่อรัฐบาล ( Government )

อุดมการณ์เสรีนิยมถูกสถาปนามาด้วยความเชื่อที่ว่า รัฐบาลจะต้องปกปักรักษาซึ่งความมีเสรีภาพของแต่ละบุคคล โทมัส เพนท ( Thomas Paine ) นักปฏิวัติคนแรก ๆของสหรัฐอเมริกา เขียนไว้ในหนังสือชื่อ Common Sense ไว้ว่า " Society in every state is a blessing, but government, even in its best state, is but a necessary evil "  สังคมในทุก ๆรัฐเป็นสังคมที่ดีอยู่แล้ว แต่แม้กระทั่งรัฐบาลที่ดีที่สุดก็คือปิศาจที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

8. เสรีภาพทางเศรษฐกิจ ( Economic Freedom )

อุดมการณ์แบบเสรีนิยมสนับสนุนการค้าเสรี ( Laissez - faire ) ในศตวรรษที่ 17 แนวความคิดแบบการค้าเสรีเกิดขึ้นมาเพื่อต่อต้านลัทธิพาณิชย์นิยม ( Mercantilism ) ซึ่งสนับสนุนการค้าแบบผูกขาดโดยรัฐบาลเสรีนิยมเป็นอุดมการณ์ที่เกิดขึ้นมาในศตวรรษที่ 17 ซึ่งในปัจจุบันสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย 

พวกเสรีนิยมในปัจจุบันจึงรับเอาแนวความคิดของพวกอนุรักษ์นิยมมาปรับโดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น พวกเสรีนิยมใหม่ยอมรับความจําเป็นที่จะต้องสร้างรัฐที่มีความเข้มแข็งเพื่อชี้นําธุรกิจและสร้างรัฐสวัสดิการ 


นอกจากนี้พวกเขายังสนับสนุนให้รัฐบาลช่วยกําจัดสิ่งปฏิกูลของระบบทุนนิยม เช่น ปัญหาสังคม การไร้ที่อยู่อาศัย และการว่างงาน เป็นต้น


อนุรักษ์นิยม 

Conservatism

อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมดูเหมือนว่าจะอยู่คนละขั้วกับพวกเสรีนิยม พวกเสรีนิยมมักจะเรียกพวกอนุรักษ์นิยมว่า

 “ Someone who believes nothing should ever be done for the first time. 

หรือ “ คนที่ไม่เชื่อว่าจะมีอะไรที่ควรทําเป็นครั้งแรก ” 


พวกอนุรักษ์นิยมได้รับชื่อว่าเป็นพวกฝ่ายขวา พวกปฏิกริยา ( Reactionary ) พวกระมัดระวัง ( Cautious )ทางสายกลาง ( Moderate ) และเชื่องช้า ( Slow ) 


ตามประวัติศาสตร์พวกอนุรักษ์นิยมเกิดขึ้นเมื่อประมาณศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นการต่อต้านอิทธิพลของการปฏิวัติฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามรากฐานของอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมสามารถย้อนกลับไปได้ในสมัยกรีกโบราณ โดยเฉพาะแนวปรัชญาทางการเมืองของเพลโต ซึ่งมีความคิดค่อนข้างอนุรักษ์นิยมมาก เราสามารถวิเคราะห์อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมได้ดังนี้


1. ระเบียบและความมั่นคง ( Order and Stability )

พวกอนุรักษ์นิยมเชื่อมั่นว่าระเบียบและความมั่นคงเป็นสิ่งสําคัญที่สุดที่จะต้องรักษาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเรื่อง ศาสนา ชาติกําเนิด และความรักชาติ ซึ่งจะต้องเป็นสิ่งที่ควรหวงแหนไว้มากกว่าสิ่งใด ๆทั้งสิ้น

2. ความชั่วร้ายของคน ( Wickedness of Man )

เช่นเดียวกับความคิดของโทมัส ฮอบส์ พวกอนุรักษ์นิยมเชื่อว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมๆกับธรรมชาติที่โหดร้าย น่ากลัว ดังนั้นมนุษย์จึงต้องการรัฐบาลมาช่วยทําให้สังคมมนุษย์ไร้ซึ่งความวุ่นวายและป่าเถื่อน 

โดยใช้กฎหมายและศาสนา พวกอนุรักษ์นิยมจึงไม่เชื่อในตัวมนุษย์ ตรงกันข้ามพวกอนุรักษ์นิยมเชื่อในหลักกฎหมายและสถาบันซึ่งมีการวางรากฐานมายาวนานและมั่นคง


3. ประสบการณ์ ( Experience )

อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมมีแนวคิดที่เชื่อมั่นในประสบการณ์มากกว่าเหตุผล ซึ่งไม่ได้หมายความว่าพวกนี้จะเป็นผู้ไม่มีเหตุผล หากแต่พวกเขาไม่เชื่อในแบบร่างของการปฏิวัติไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เพราะเขามีความเห็นในแง่ลบต่อธรรมชาติของมนุษย์ ไม่เชื่อว่ามนุษย์จะเป็นผู้ใช้หลักเหตุผลได้อย่างถูกต้อง

4. ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน ( Gradual Change )

พวกอนุรักษ์นิยมไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เขาต้องการให้มันเกิดขึ้นอย่างค่อย ๆเป็นค่อย ๆไป ดังนั้นพวกอนุรักษ์นิยมจึงมีความหวาดกลัวต่อการปฏิวัติเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นการถอนรากถอนโคนระบบสังคมแบบเดิม หากเลือกได้เขาจะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ

5. เสรีภาพ ( Liberty )

อนุรักษ์นิยมไม่ชอบความเท่าเทียมกัน เพราะมันจะเป็นอันตรายต่อเสรีภาพ โดยเนื้อแท้เขาสนับสนุนรัฐบาลที่มีรากฐานอยู่ที่การเป็นผู้ดี และต่อต้านพวกทุนนิยมที่แสวงหาอํ านาจด้วยความรํ่ ารวย และต่อต้านระบอบประชาธิปไตย เพราะมันอยู่ตรงกันข้ามกับระเบียบและความมั่นคง

6. ความหลากหลาย ( Diversity )

พวกอนุรักษ์นิยมไม่เชื่อในความเป็นสากล เขาเชื่อว่าถึงแม้ว่ากฎหมายบางฉบับจะใช้การได้ดีในประเทศหนึ่ง แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะใช้ได้ดีในทุก ๆ ประเทศ ดังนั้นประเทศแต่ละประเทศควรจะมีวิถีการพัฒนาเป็นของตัวเอง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละประเทศ

7. รัฐบาล ( Government )

รัฐบาลในความคิดของพวกอนุรักษ์นิยมไม่ใช่สิ่งที่ชั่วร้าย รัฐบาลเป็นสิ่งที่จํ าเป็นที่จะรักษาไว้ซึ่งระเบียบเรียบร้อยและความมั่นคงในศตวรรษที่ 20 อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมมีความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างมากถึงแม้ว่าแนวความคิดในเรื่องหลัก ๆจะยังคงเหมือนเดิม แต่เรื่องแนวคิดเรื่องวิถีทางเศรษฐกิจของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไป

 พวกอนุรักษ์นิยมใหม่ ( Neo Conservatism ) จะมีแนวคิดคล้ายพวกเสรีนิยมเก่าในเรื่องทางด้านเศรษฐกิจ โดยต้องการให้รัฐบาลถูกจํากัดอํานาจในการเข้าไปแทรกแซงทางเศรษฐกิจปัจจุบันทั้งพวกอนุรักษ์นิยมใหม่และพวกเสรีนิยมใหม่มีความคาบเกี่ยวกันในหลายด้าน แม้กระทั่งในคน ๆ เดียวกัน ในบางกรณีอาจเป็นอนุรักษ์นิยม ในบางกรณีอาจเป็นเสรีนิยม 


อุดมการณ์ทั้ง 2 ประการจึงไม่สามารถถูกเรียกได้ว่าอยู่ที่ใดที่หนึ่งตลอดไป มันได้ถูกนํามาใช้อธิบายแนวความคิดของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เราไม่จํ าเป็นต้องขังตัวเองอยู่ในอุดมการณ์แบบใดแบบหนึ่ง เพียงแต่เข้าใจว่าแต่ละประเด็นที่กํ าลังวิเคราะห์กันอยู่นั้นเรายืนอยู่บนจุดใดก็น่าจะเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้ว

ฟาสซิสม์ 

Fascism

คํ าว่าฟาสซิสม์ ถูกนํามาใช้หลายครั้งในการศึกษาการเมืองการปกครอง ที่จริงอุดมการณ์นี้เป็นอุดมการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่มาก คือในศตวรรษที่ 20 นี้เอง มีต้นกําเนิดที่ประเทศอิตาลี ( ในการปฏิวัติ Fasci d’azione rivoluzionaria ) ในปี 1914 - 1915 รัฐบาลฟาสซิสม์ถูกจัดตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อนํ าอิตาลีเข้าสู่สงครามภายใต้การนําของเบนิโตมุสโสลีนี ( Benito Mussolini )

 ฟาสซิสม์ เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่เพิ่มประสิทธิภาพในทางการผลิตมากที่สุดภายในเวลาที่น้อยที่สุด เพราะภายใต้ฟาสซิสม์ สังคมจะดํ าเนินไปพร้อม ๆ กันภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกัน ไม่มีใครคัดค้านการนําของผู้นําสูงสุด ในแง่หนึ่งฟาสซิสม์จึงเป็นอุดมการณ์ที่อันตราย เพราะไม่มีฝ่ายใดจะช่วยถ่วงดุลการใช้อํานาจของผู้นําไว้ได้เลย 


ส่วนความหมายของคํ าว่าฟาสซิสม์ ( Fascism ) นั้นถูกนํามาใช้จากศัพท์ลาตินว่า Fasces ซึ่งแปลว่าการผูกไว้ด้วยกัน แต่ใช้ในความหมายว่า อํานาจที่มาจากความสามัคคี ชาติที่นําแนวความคิดแบบฟาสซิสม์มาใช้นอกจากอิตาลีแล้วยังมี ประเทศอื่นที่นําไปใช้อีกคือ สเปนภายใต้การนํ าของนายพลฟรังโก ( Francisco Franco ) และโปรตุเกสภายใต้การนําของซาลซาร์ ( Antonio Salzar ) นอกจากยังมีนายพล ปิโนเช่ ( Augusto Pinochet ) และปัจจุบันมีคนนอกประเทศสิงคโปร์มักจะพูดกันว่าสิงคโปร์ ภายใต้อิทธิพลของลีกวนยูก็เป็นฟาสซิสม์ในอีกรูปแบบหนึ่งเหมือนกัน แนวความคิดของฟาสซิสม์พอสรุปใจความสํ าคัญได้ดังนี้

1. แนวความคิดเรื่องรัฐ ( State )

ฟาสซิสม์มีแนวความคิดว่ารัฐมีความสํ าคัญกว่าปัจเจกบุคคล ซึ่งอยู่คนละขั้วกับเสรีนิยม เพราะเสรีนิยมมองว่าหน้าที่ของรัฐคือการปฏิบัติต่อปัจเจกบุคคล แต่ฟาสซิสม์มองกลับกันคือ ปัจเจกบุคคลจะต้องปฏิบัติรับใช้รัฐ รัฐในความหมายของฟาสซิสม์จึงมีอํานาจเผด็จการ 

มุสโสลินีมองประเด็นนี้ว่ารัฐเป็น Corporate State โดยประชาชนและกลุ่มธุรกิจต้องทํางานเพื่ออุทิศแก่รัฐ รัฐบาลจะเป็นผู้ชี้ขาดและมีอํ านาจสูงสุด ซึ่งต่างกับมาร์กซิสเช่นเดียวกันเพราะเป็นการแบ่งแยกชนชั้นกันชัดเจนระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง นอกจากนี้รัฐบาลของฟาสซิสม์ยังควบคุม
ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การสื่อสาร ห้องสมุด และองค์ความรู้ต่าง ๆท่านคิดว่าในประเทศไทยเคยมีการปกครองแบบฟาสซิสม์หรือเปล่า ?

2. ชาตินิยม ( Nationalism )

ฟาสซิสม์มุ่งเน้นความเป็นชาติ ซึ่งตรงกันข้ามกับอุดมการณ์สังคมนิยมที่มุ่งไปสู่ความไร้ซึ่งพรมแดนของรัฐชาติ ความเป็นชาติมีความหมายถึงประชาชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน ลัทธิฟาสซิสม์สนับสนุนให้ประชาชนอุทิศตนเองให้กับชาติเหนือสิ่งใด ๆ ทั้งมวล

3. ต่อต้านเสรีนิยม ( Anti - Liberalism )

ฟาสซิสม์ไม่ได้ต่อต้านรัฐที่เป็นเสรีนิยมเท่านั้น แต่ฟาสซิสม์ยังต่อต้านแนวความคิดของพวกเสรีนิยมทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นระบบการเมืองแบบรัฐสภา ฟาสซิสม์มองว่าไม่มีความจําเป็นที่จะต้องมีพรรคฝ่ายค้าน เพราะจะทํ าให้ประเทศพัฒนาไปอย่างเชื่องช้าเพราะมัวแต่ถกเถียงกัน

4. ลัทธิทหารนิยม ( Militarianism )

ลัทธิทหารนิยมถูกนํามาใช้เพื่อสร้างอํานาจเด็ดขาดสําหรับผู้นําของประเทศฟาสซิสม์ ในกรณีของนโยบายระหว่างประเทศ ลัทธิฟาสซิสม์มักจะรุกรานประเทศอื่น ๆ เพื่อดินแดนเพิ่มเติม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อิตาลีรุกรานเอธิโอเปีย เช่นเดียวกับฮิตเลอร์ที่ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายด์และบุกประเทศโปแลนด์ในช่วงเดียวกัน ส่วนภายในประเทศลัทธิทหารนิยมก็จะถูกนํ ามาใช้ปราบปรามผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งกับผู้นํ า

5. ความเป็นเผด็จการ ( Dictator )

ลักษณะที่สํ าคัญอีกประการหนึ่งของลัทธิฟาสซิสม์คือความเป็นเผด็จการของผู้นํ าประเทศแต่เพียงผู้เดียว ในลัทธินาซีเยอรมันผู้นํ ามีเพียงคนเดียวคือฮิตเลอร์ นอกจากนี้ยังมีการเชิดชูผู้นํ าหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการติดรูปขนาดใหญ่ การสร้างรูปปั้นของผู้นํ าทั่วประเทศ และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความฉลาดสูงสุด และมักจะทํ าอะไรถูกไปหมด

6. ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ( Anti - Communism )

ฟาสซิสม์มักจะต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่เสมอ ถึงแม้ว่าฟาสซิสม์จะมีอะไรหลายอย่างคล้ายคลึงกับลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ตาม ด้วยฟาสซิสม์เป็นศัตรูโดยตรงกับลัทธิคอมมิวนิสต์นี่เอง ในช่วงสงครามเย็นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงใช้ประเทศเผด็จการทหารแบบฟาสซิสม์เป็นเครื่องมือในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ เช่นในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ เป็นต้น

บางครั้งเราอาจได้ยินคําว่านาซี ( National Socialism หรือ Nazism ) ได้ถูกนํามาใช้รวมกับฟาสซิสม์เหมือนกัน นาซีภายใต้การนําของฮิตเลอร์ ( Adolf Hitler ) ถึงแม้ว่านาซีจะมีจุดร่วมเดียวกับฟาสซิสม์ในหลายประเด็น แต่นาซีก็มีความแตกต่างจากฟาสซิสม์เหมือนกัน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเชื้อชาติ ( Racism ) โดยฮิตเลอร์ได้ชูประเด็นความสูงสุดของเชื้อชาติอารยัน และการต่อต้านคนเชื้อสายยิว ในหนังสืออัตชีวประวัติของฮิตเลอร์ชื่อ Mein Kampf ( My Struggle ) ได้เขียนไว้ว่าเชื้อสายนอร์ดิกอารยัน ( Nordic Aryan ) เป็นเชื้อสายที่ดีว่าเชื้อสายอื่น ๆ โดยทั่วไป


 ดังนั้นนโยบายของนาซีก็คือการทํ าให้คนอารยันมีอํ านาจปกครองเหนืออารยธรรมอื่น ๆ ที่ปกครองโดยเชื้อสายอื่น ๆ และต้องทํ าลายเชื้อชาติยิวให้สิ้นซาก เพราะเชื้อชาติยิวเป็นเชื้อชาติของซาตานบนโลกมนุษย์แต่ที่สําคัญที่สุดก็คือต้องรักษาความบริสุทธิ์ของเชื้อสายอารยันไม่ให้ถูกผสมผสานโดยเชื้อสายอื่น ๆ ที่ตํ่ ากว่า

Credit

- User be : endure


ลัทธิฟาสซิสม์ : Fascism




ลัทธิฟาสซิสม์ 

 FASCISM

ลัทธิฟาสซิสม์ เป็นรูปแบบการปกครองแบบระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จรูปแบบพิเศษที่เกิดขึ้นในประเทศอิตาลีเช่นเดียวกันกับลัทธินาซีในเยอรมันนี

ความเป็นมา 

ฟาสซิสม์เป็นระบบเผด็จการที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 ชื่อของระบบนี้มาจากคำในภาษาอิตาเลียนว่า      " ฟาสิโอ " ซึ่งแปลว่า " กลุ่ม " หรือ " ขบวนการ " พรรคฟาสซิสม์ได้ตั้งขึ้นโดย เบนิโต มุโสลินี ในปี ค.ศ. 1919 เพื่อต้านระบบคอมมิวนิสต์และได้ยึดอำนาจในประเทศอิตาลีในปี ค.ศ. 1922

     ตามแนวคิดลัทธิฟาสซิสม์ถือว่า ประชาชนไม่มีความสามารถ ขาดความรู้และมีอารมณ์ปรวนแปรไม่สามารถปกครองตนเองได้ ประชาชนจะต้องถูกปกครองโดยกลุ่มชนชั้นนำ ( elite ) ซึ่งมีคุณลักษณะสูงกว่ามวลชนโดยทั่วไป ทั้งในด้านความคิด สติปัญญา กำลังใจ และจริยธรรม

    เมื่อได้นำลัทธินี้มาใช้เป็นระบบการเมือง พรรคการเมืองทั้งหลายก็ถูกกวาดทิ้งโดยสิ้นเชิง และได้ห้ามมิให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและการปกครอง ผู้ใดละเมิดจะถูกลงโทษ ห้ามมิให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานและกลุ่มธุรกิจใดๆโดยเสรี รัฐจะเข้ามาควบคุมกิจการทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่

    ระบบฟาสซิสม์ในช่วงระยะก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น มุ่งที่จะทำลายล้างรัฐบาลตามระบอบรัฐธรรมนูญทุกแห่งในโลกด้วยการใช้กำลัง

    เมื่อมวลชนได้กลายมาเป็นปัจจัยที่สำคัยทางการเมือง ดังนั้น ถ้าประเทศที่ประชาชนไม่มีประสบการณ์ในด้านประชาธิปไตย ประเทศนั้นก็จะถูกปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยม แต่ถ้าประชาชนมีประสบการณ์ทางการเมืองอยู่บ้างก็อาจกลายเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ เช่น แบบฟาสซิสม์ไปได้

    ระบบฟาสซิสม์ก็เหมือนระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยทั่วไปที่มีการใช้ สัญลักษณ์ เทคนิค และสถาบันต่างๆ ตามแบบรัฐบาลในระบบประชาธิปไตยเป็นการเลียนแบบ เช่น มีการใช้คำว่า " เสรีภาพ " " ประชาธิปไตยที่แท้จริง " " เจตนารมณ์ของประชาชน " แต่มีความหมายไปอีกทางหนึ่ง จากนั้นวิธีการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองก็ได้ลอกเลียนแบบกระบวนการในแบบประชาธิปไตย เช่น การใช้หนังสือพิมพ์ ใบปลิว การเดินขบวน การประท้วง เป็นต้น กระบวนการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจได้สร้างมาทั้งสิ้น

    ระบบฟาสซิสม์นั้นมักจะขยายอำนาจเข้าไปในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม เช่น ในเยอรมันนีและญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะเหตุว่าเนื้อหาของฟาสซิสม์และนโยบายการปกครองของฟาสซิสม์เป็นสิ่งที่เรียกร้องความสนใจนักอุตสาหกรรมและชนชั้นกลาง

     สำหรับนักอุตสาหกรรมนั้นสนับสนุนลัทธินี้ เพราะพวกฟาสซิสม์สัญญาว่าจะทำลายสหพันธ์กรรมกร ส่วนบรรดาชนชั้นกลางนั้นพอใจลัทธิฟาสซิสม์เพราะบุคคลเหล่านี้มีความปรารถณาที่จะเพิ่มพูนเสถียรภาพและความก้าวหน้าของตนเองแต่ไม่สามารถทำได้เพราะถูกขัดขวางโดยธุรกิจขนาดใหญ่ รือบรรดาผู้มีเงินทองทั้งหลาย ดังนั้น เมื่อลัทธิฟาสซิสม์ต้องการต่อต้านผู้ที่มีความมั่งคั่งจำกัดอำนาจบุคคลเหล่านั้น พวกกลุ่มชนชั้นกลางก็นิยม

 โดยเชื่อว่าจะทำให้รากฐานของตนดียิ่งขึ้น ในหลายประเทศ เช่น อาร์เจนติน่า ลัทธินี้ได้รับการสนับสนุนโดยกรรมกรในเมือง ตัวอย่างเช่นพรรคเปรอง ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างยิ่งที่เป็นเช่นนี้อาจเพราะเหตุที่ว่าการปกครองแบบฟาสซิสม์นั้น แม้จะต่อต้านสหพันธ์กรรมกรแต่ก็ให้คำมั่นสัญญากับกรรมกรว่าจะให้ความมั่นคง 


     ระบบฟาสซิสม์สนับสนุนการขยายอำนาจแบบจักรวรรดินิยม ดังนั้นจึงทำการยกย่องทหารเป็นพิเศษ ถือว่าบุคคลในอาชีพนี้เป็นผู้ที่มีเกียรติ กลุ่มทหารในบางประเทศเช่นญี่ปุ่นจึงสนับสนุนการปกครองดังกล่าว แต่เมื่อมีการปกครองแบบฟาสซิสม์เมื่อใดก็ต้องการให้มีการเปลี่ยนกำลังทหารให้เป็นครื่องมือของผู้นำ และกวาดล้างทหารที่ผู้ปกครองเองไม่ไว้วางใจเสียทั้งสิ้น

     ระบบการปกครองแบบฟาสซิสม์อาจจะได้รับการสนับสนุนจากบรรดาประชาชนที่ว่างงาน โดยเฉพาะถ้าประเทศประสบปัญหาในด้านเศรษฐกิจ หรือเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งนี้เพราะฟาสซิสมืให้คำมั่นสัญญาว่าจะสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ลัทธิฟาสซิสม์ยังให้ความสำคัญแก่ประชาชนที่ว่างงาน 

ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของฟาสซิสม์ก็ดีหรือการให้ความหวังในบทบาทสำคัญของบุคคลเหล่านี้ก็ดี จะทำให้ผู้ว่างงานหันมาสนับสนุน เช่น การแต่งกายเครื่องแบบ ให้ประจำกาในกองทัพ ให้มีส่วนร่วมในการชุมชุม เดินพาเหรดต่างๆ ทำให้บุคคลเหล่านี้เชื่อมั่นในตนเองได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษของชาติแทนที่จะอยู่อย่างสิ้นหวังไม่มีค่าและไม่มีงานทำ


สาระสำคัญของลัทธิฟาสซิสม์ 

ลัทธิฟาสซิสม์เป็นผลงานของเบนิโต มุโสลินี และมีเนื่อหาสาระที่สำคัญ 7 ประการคือ

     1. ต้องการให้บุคคลมีความเชื่อโดยไม่คนึงถึงเหตุผล 
กล่าวคือ พยายามที่จะสั่งสอนและโน้มนำให้บุคคลเชื่ออย่างงมงายในการยึดถือชาติและผู้นำ  ความจงรักภักดีและความผูกพันธ์ที่มนุษย์พึงมีต่อการปกครอง 

ด้วยความเชื่ออย่างคลั่งไคล้ใหลหลงทำให้ประชาชนกลายเป็นกลไกในการปกครองของชาติ สิทธิเสรีภาพบางประการจึงถูกจำกัด โดยถือเอาความมั่นคงและความปลอดภัยของชาติเป็นสิ่งที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ประชาชนจะต้องเชื่อฟัง และปฎิบัติตามอำนาจอย่างเคร่งครัดมิฉะนั้นจะต้องถูกลงโทษ


    2. ไม่เชื่อว่ามนุษย์มีความเท่าเทียมกัน 
กล่าวคือ ลัทธินีพยายามชี้ให้เห็นว่าความเชื่อถือเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันของมนุษย์ตามแนวความคิดของลัทธิการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นไม่ถูกต้อง เหตุว่า ตามสภาพความเป็นจริงมนุษย์ไม่มีความเท่าเทียมกันทั้งด้าร่างกายและพฤติกรรม เช่น ชายมีคุณสมบัติเหนือหญิง ทหารมีคุณสมบัติเหนือพลเรือน สมาชิกของพรรคฟาสซิสม์มีคุณสมบัติเหนือกว่าประชาชนทั่วไป ชาติย่อมมีฐานะเหนือเอกชน คนแข็งแรงย่อมอยู่ในฐานะเหนือกว่าคนอ่อนแอและผู้ชนะย่อมมีคุณสมบัติเหนือผู้แพ้ เป็นต้น 

จากหลักดังกล่าวจึงเห็นได้ว่ามาตราฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินความมีฐานะเหนือกว่าบุคคลคืออำนาจ ดังนั้น ความไม่เท่าเทียมกันจึงเป็นอุดมการณ์ขั้นสูงสุดของลัทธินี้ ซึ่งมีผลต่อการกำหนดนโยบายทั้งภายในและภายนอกประเทศ


     3. ความเชื่อในหลักพฤติกรรมที่นิยมความรุนแรงและการโฆษณาชวนเชื่อ
หลักสคัญของแนวคิดนี้อยู่ที่การแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็น 2 พวกคือเพื่อนและศัตรู ( friend and enemy ) ซึ่งหมายความว่า บุคคลที่ไม่ใช่เพื่อนแล้วจะต้องเป็นศัตรูทั้งหมด ศัตรูอาจมีทั้งในประเทศและนอกประเทศ ศัตรูจะต้องถูกทำลายโดยสิ้นเชิง 

และด้วยความเชื่อดังกล่าวนี้จึงทำให้เกิดสถาบันของการใช้กำลังที่รุนแรงเพื่อเป็นเครื่องมือของลัทธินี้ การใช้กำลังรุนแรงกระทำได้ในหลายประการ เพื่อสร้างความกลัว การล้างสมอง ค่ายกักกัน และการทำลายล้างให้ราบเรียบ


     4. หลักรัฐบาลโดยชนชั้นนำ 
ความเชื่อของหลักการนี้อยู่ที่ว่าผู้นำของรัฐบาลหรือผู้นำประเทศนั้นเป็นผู้ที่มีความสามารถ มีการกระทำที่ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด เพราะเหตุที่ว่า ผู้นำได้เลือกสรรมาจากบุคคลในแนวคิดที่ว่า ผู้ปกครองประเทศเป็นชนกลุ่มน้อยที่สามารถ ชนกลุ่มนี้จะต้องเป็นผู้นำชนชั้นได้ สามารถใช้ความต้องการนั้นเป็นเครื่องมือในการสร้างฐานะของตนเอง ผุนำต้องผูกขาดอำนาจในการปกครอง

    5. หลักการปกครองแบบเบ็ดเสร็จ
เห็นได้ว่า ฟาสซิสม์มีความเชื่อตามหลักการในระบอบเบ็ดเสร็จ เพราะลัทธิฟาสซิสม์ยึดมั่นว่า อำนาจเด็ดขาดเป็นอำนาจสูงสุดที่ครอบคลุมชีวิตประชาชนในชาติไว้ ดังนั้น กิจการทุกอย่างรวมทั้งระบบที่เกี่ยวเนื่องได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมแลพการเมือง ก็จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐด้วย 

นอกจากนี้ลัทธิฟาสซิสม์ยังได้ถือว่าสิทธิของสตรีต้องถูกจำกัด เพราะสตรีไม่อาจจับอาวุทธขึ้นมาป้องกันประเทสได้ ดังนั้น สตรีจึงเป็นเสมือนบุคคลชั้นรองของประเทศ แม้ว่าลัทธิฟาสซิสม์จะได้โอนอ่อนผ่อนคลายไดบ้างเพื่อนนำไปใช้ในบางประเทศ เช่น การผ่อนผันไม่ควบคุมเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาก็ตาม แต่ลัทธิฟาสซิสม์ก็ยังถือเอาอำนาจและความรุนแรงเป็นเครื่องมือควบคุมการปกครองประเทศอยู่ดี


    6. หลักความนิยมในเชื้อชาติ 
ความเชื่อตามหลักการนี้มีอยู่ว่า ชนชั้นนำมีอุดมการณ์ของฟาสซิสม์เป็นผู้ที่ต้องมีฐานะเหนือชนชั้นอิ่น ชนชั้นนำมีอำนาจและบังคับให้ผู้อื่นยอมรับและนำเอาเจตนานรมณ์ขงตนไปปฏิบัติ ประเทศที่ประกอบไปด้วยกลุ่มชนชั้นนำจะเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีฐานะเหนือชาติอื่น ชนชั้นที่เป็นบุคคลที่มีเชื้อสายที่มีความบริสุทธิและมีความสามารถพิเศษ เช่น ชนเผ่าอารายันของประเทศเยอรมันนี เป็นต้น 

และโดยเหตุที่ชนชั้นนำมีเชื้อชาติเผ่าพันธ์เหนือชนชั้นอื่น ดังนั้น จึงทำให้เกิดวัตถุประสงค์ที่จะสนองตอบต่อความเชื่อดังกล่าว โดยการเพิ่มพูนฐานะอำนาจและชื่อเสียงเผ่าพันธ์ของตน รวมทั้งการที่จะขยายเผ่าพันธ์ของตนให้ครอบคลุมไปทั่วโลก หลักสำคัญของความเชื่อมั่นในชาติอันได้แก่ ความเก่าแก่และมั่นคงของเผ่าพันธ์ หรือการสืบเชื้อสายมาจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถและอำนาจอันพิเศษเหนือมนุษญ์เชื้อชาติอื่น เช่น ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นพวกที่มีเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ซึ่งเป็นสมมติเทพ


 ดังนั้น ชนชาวญี่ปุ่นต้องเป็นผู้เข้มแข็ง สามารถปกครองชาติต่างๆได้ทั่วโลก เสมือนดังพระอาทิตย์ที่มใหเอนาจต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของพลโลกทั่วทั้งจักรวาล ชาวเยอรมันยึดมั่นในความบริสุทธิของสายโลหิตที่มีความเฉลียวฉลาด และมีอำนาจเหนือชาติอื่น


     7. หลักความไม่เห็นด้วยกับกฏหมายและพฤติกรรมระหว่างประเทศ
ความเชื่อในหลักการนี้ตั้งอยู่บนความเชื่อในความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศ ความรุนแรง เชื้อชาตินิยม จักรวรรดินิยมและสงคราม ถือว่าเป็นหลักการและเครื่องมือสำคัยของรัฐ โดยเน้นที่สงครามและอุดมคติเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ขัดกับหลักการประชาธิปไตยทั้งสิ้น


บทความนี้ผมได้นำมาจากหนังสือแบบเรียนเล่มหนึ่ง โทษทีที่จำชื่อหนังสือไม่ได้ เพราะว่าถ่ายเอกสารเก็บไว้หลายปีแล้ว
ก็เอามาให้อ่านกันจะได้เพิ่มเต็มความรู้กัน จะได้รู้ว่าทำไมพั้งค์ถึงเกลียดฟาสซิสม์ 

FASCISM

คำว่าฟาสซิสม์ มีต้นกำเนิดที่ประเทศอิตาลี โดยรัฐบาลฟาสซิสม์ถูกจัดตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อนำอิตาลีเข้าสู่สงครามภายใต้การนำของเบนิโต มุสโสลินี. 

ฟาสซิสม์เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพในทางการผลิตมากที่สุดภายในเวลาที่น้อยที่สุด เพราะภายใต้ฟาสซิสม์ สังคมจะดำเนินไปพร้อมๆกันภายใต้จุดหมายเดียวกัน ไม่มีใครคัดค้านการนำของผู้นำสูงสุด ฟาสซิสม์จึงเป็นอุดมการณ์ที่อันตราย เพราะไม่มีฝ่ายใดช่วยถ่วงดุลการใช้อำนาจของผู้นำไว้ได้เลย


ส่วนความหมายของคำว่าฟาสซิสม์ ( fascism ) นั้นมาจากศัพท์ภาษาลาตินว่า Fasces แปลว่า การผูกไว้ด้วยกัน ซึ่งมุสโสลินีให้ความหมายว่า คือการผูกมัดอำนาจรัฐกับอำนาจบรรษัท ( Fascism should be called corporation since it is the merger of state and corporate power )
แนวความคิดของฟาสซิสม์พอสรุปใจความสำคัญได้ดังนี้

1.แนวความคิดเรื่องรัฐ
ฟาสซิสม์มีแนวความคิดที่ว่า รัฐมีความสำคัญกว่าปัจเจกบุคคล ซึ่งอยู่คนละขั้วกับเสรีนิยม เพราะเสรีนิยมมองว่าหน้าที่ของรัฐคือ การปฏิบัติต่อปัจเจกบุคคล แต่ฟาสซิสม์มองกลับกันคือ ปัจเจกบุคคลจะต้องปฏิบัติรับใช้รัฐ


รัฐในความหมายของฟาสซิสม์จึงมีอำนาจเผด็จการ มุสโสลินีมองประเด็นนี้ว่า ประชาชนและกลุ่มธุรกิจต้องทำงานเพื่ออุทิศแก่รัฐ รัฐบาลจะเป็นผู้ชี้ขาดและมีอำนาจสูงสุด เป็นการแบ่งแยกชนชั้นกันชัดเจนระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง นอกจากนี้รัฐบาลของฟาสซิสม์ยังควบคุมทุกอย่างไม่ว่า จะเป็นการศึกษา การสื่อสาร และองค์ความรู้ต่างๆ

2.ชาตินิยม
ฟาสซิสม์มุ่งเน้นความเป็นชาติที่มีความหมายถึงประชาชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน ลัทธิฟาสซิสม์สนับสนุนให้ประชาชนอุทิศตนเองให้กับชาติเหนือสิ่งอื่นใดๆทั้งมวล


3.ต่อต้านเสรีนิยม
ฟาสซิสม์ไม่ได้ต่อต้านรัฐที่เป็นเสรีนิยมเท่านั้น แต่ฟาสซิสม์ยังต่อต้านแนวความคิดของพวกเสรีนิยมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นระบบการเมืองแบบรัฐสภา ฟาสซิสม์มองว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีพรรคฝ่ายค้าน เพราะจะทำให้ประเทศพัฒนาไปอย่างเชื่องช้าเพราะมัวแต่ถกเถียงกัน


4.ลัทธิทหารนิยม
ลัทธิทหารนิยมถูกนำมาเพื่อสร้างอำนาจเด็ดขาดสำหรับผู้นำของประเทศ ในกรณีของนโยบายระหว่างประเทศลัทธิฟาสซิสม์ มักจะรุกรานประเทศอื่นๆเพื่อขยายดินแดนเพิ่มเติม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อิตาลีรุกรานเอธิโอเปีย เช่นเดียวกับ ฮิตเลอร์ที่ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายและบุกประเทศโปแลนด์ในช่วงเดียวกัน ส่วนภายในประเทศลัทธิทหารนิยมก็จะถูกนำมาใช้ปราบปรามผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งกับผู้นำ


5.ความเป็นเผด็จการ
ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของลัทธิฟาสซิสม์คือ ความเป็นเผด็จการของผู้นำประเทศแต่เพียงผู้เดียว นอกจากนี้ยังมีการเชิดชูผู้นำหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการติดรูปขนาดใหญ่ การสร้างรูปปั้นของผู้นำทั่วประเทศ การนำชื่อผู้นำไปตั้งเป็นชื่อสถานที่สำคัญๆและ ผู้นำจะมีความเชื่อมั่นว่าตนเองเป็นผู้มีความฉลาดสูงสุด และมักจะทำอะไรถูกไปหมด


6.ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
ฟาสซิสม์มักจะต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่เสมอ ถึงแม้ว่าฟาสซิสม์จะมีอะไรหลายอย่างคล้ายคลึงกับลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ตาม ด้วยฟาสซิสม์เป็นศัตรูโดยตรงกับลัทธิคอมมิวนิสต์นี่เอง ในช่วงสงครามเย็นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงใช้ประเทศเผด็จการทหารแบบฟาสซิสม์ เป็นเครื่องมือในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์


ชาติที่นำความคิดแบบฟาสซิสม์มาใช้นอกเหนือจากอิตาลีแล้วก็มีฮิตเลอร์ที่พัฒนาปรัชญาการปกครองคล้ายกับมุสโสลินี แต่เพิ่มชาตินิยมคลั่งชาติเข้าไป โดยถือว่าชาวเยอรมัน ตาสีฟ้า ผมสีทอง คือชาติอารยัน ส่วนชนชาติอื่นเช่น ยิว สลาฟ นิโกร ฯลฯ เป็นชนชาติสถุล สมควรถูกขจัดให้หมดสิ้นไป

เคมาล อตาเติร์ก ผู้เผด็จการชาวตุรกี ก็ใช้ชาตินิยมผนึกชาวเติร์กแล้วเข่นฆ่าชาวกรีกและอาร์เมเนียนเป็นเรือนแสน บังคับให้ประชาชนแต่งตัวแบบสากลนิยม เลิกประเพณีเก่าแก่เปลี่ยนอักษรจากอาหรับเป็นโรมัน ฯลฯ จนเป็นเหตุในตุรกีไม่สงบมาจนถึงปัจจุบัน


ส่วนในของเอเชียเราก็เริ่มด้วยญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลก ทหารได้ยึดอำนาจรัฐ ยกเลิกระบบประชาธิปไตย รุกรานจีนแล้วนำประเทศเข้าสู่ความพินาศในสงครามโลกครั้งที่ 2

หันกลับมาดูประเทศไทยเรา จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ก่อตั้งรัฐเผด็จการทหารแบบญี่ปุ่นขึ้น แล้วใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อปลุกระดมความหลงชาติ คลั่งชาติ สร้างรัฐนิยม เช่น การใส่หมวกแบบฝรั่ง รณรงค์ให้เลิกกินหมากหรือแม้กระทั่งปลุกความเชื่อว่า " เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย " ห้ามการเรียนการสอนภาษาจีน เพราะหวาดกลัวอิทธิพลของคอมมิวนิสต์จีน

ที่ร้ายที่สุดก็คือการนำประเทศไทยเข้าฝ่ายอักษะ ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร แล้วยังส่งกองทัพเข้ายึดดินแดนบางส่วนของประเทศเพื่อนบ้าน ภายหลังเมื่อฝ่ายอักษะแพ้สงคราม หากไม่มี " เสรีไทย " มาช่วยกอบกู้สถานการณ์ไว้แล้ว ไทยเราก็คงอยู่ในภาวะการณ์ของการเป็นประเทศผู้แพ้สงครามตกเป็นเชลยศึกของฝ่ายอักษะเป็นแน่

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง มุสโสลินีถูกจับยิงเป้าแล้วแขวนศพประจาน ฮิตเลอร์ฆ่าตัวตาย และนายพลโตโจถูกแขวนคอ บ้านเมืองของเขากลับสู่ภาวะประชาธิปไตย แต่ของไทยเรากลับไม่เป็นเช่นนั้น จอมพล ป. กลับคืนสู่อำนาจและถูกรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ จนต้องหนีออกนอกประเทศไป และเมื่อจอมพลสฤษดิ์สิ้นชีวิตลงก็ถูกยึดทรัพย์โดยจอมพลถนอมที่ครองอำนาจคู่กับจอมพลประภาส จวบจนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จึงได้สิ้นอำนาจลง และก็ถูกยึดทรัพย์อีกเช่นกัน

เหตุการณ์ต่างๆก็ทำท่าว่าจะไปด้วยดี หากไม่มีเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และรสช.เกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดเหตุพฤษภาทมิฬ 2535 แล้วก็ดูเหมือนว่าลัทธิฟาสซิสม์จะสิ้นชีพไปจากเมืองไทยแล้ว แต่เมื่อมาพิเคราะห์ถึงสถานการณ์บ้านเมืองของไทยในปัจจุบันแล้ว จะเห็นได้ว่าแทบไม่ต่างกับเหตุการณ์ในอดีตแต่อย่างใดเลย เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบใหม่จากการยึดอำนาจโดยทหาร มาเป็นการยึดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จโดยนายทุนไม่กี่ตระกูลเท่านั้นเอง

นโยบายต่างๆไม่ว่า การที่ต้องเชื่อฟังท่านผู้นำตามมาตรการมงฟอร์ต หรือการใช้มาตรการรุนแรง การฆ่าตัดตอน การอุ้มฆ่าหรือล่าสุดก็คือการออกกฎหมายปิดปากที่เปรียบเสมือนกับการปิดประตูตีแมวไม่ให้คนนอกเข้าไปรู้เห็น ไม่ให้เสียงที่ร้องโหยหวนจาการทารุณกรรมดังออกไปข้างนอก ฯลฯ นั้นไม่ต่างกับยุคสมัยที่ฟาสซิสม์ครองเมืองแต่อย่างใด

กงล้อประวัติศาสตร์มักจะหมุนย้อนกลับมาเวียนรอบอีกเสมอ หากยังปฏิบัติในรูปรอยเดิมและบทสุดท้ายของผู้นำที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตไม่ว่าจะเป็นมุสโสลินี ฮิตเลอร์ โตโจ จอมพล ป. จอมพลถนอม จอมพลประภาส เป็นอย่างไรบ้าง ย่อมเป็นบทเรียนที่ดีและมีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วในอดีต
แล้วเรายังจะเดินรอยตามอยู่อีกหรือ



อันนี้เป็นบทความอันเก่าที่เคยลงไปแล้วแต่เราลบกระทู้ทิ้งเพื่อทำใหม่ให้ดีกว่าเดิม
อันนี้เป็นบทความที่เรายืมมาจาก เวปมหาลัยเที่ยงคืน

บทความนี้น่าสนใจตรงที่เค้านำเรื่องราวของเผด็จการในไทยมาผูกเรื่องต่อกับฟาสซิสม์ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเลยว่า ผู้นำที่เป็นเผด็จการนั้น ไม่ได้มีอำนาจค้ำฟ้าไปตลอด หนำซ้ำยังตายเหมือนหมาอีกต่างหาก