ลัทธิฟาสซิสม์
FASCISM
ลัทธิฟาสซิสม์ เป็นรูปแบบการปกครองแบบระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จรูปแบบพิเศษที่เกิดขึ้นในประเทศอิตาลีเช่นเดียวกันกับลัทธินาซีในเยอรมันนี
ความเป็นมา
ตามแนวคิดลัทธิฟาสซิสม์ถือว่า ประชาชนไม่มีความสามารถ ขาดความรู้และมีอารมณ์ปรวนแปรไม่สามารถปกครองตนเองได้ ประชาชนจะต้องถูกปกครองโดยกลุ่มชนชั้นนำ ( elite ) ซึ่งมีคุณลักษณะสูงกว่ามวลชนโดยทั่วไป ทั้งในด้านความคิด สติปัญญา กำลังใจ และจริยธรรม
เมื่อได้นำลัทธินี้มาใช้เป็นระบบการเมือง พรรคการเมืองทั้งหลายก็ถูกกวาดทิ้งโดยสิ้นเชิง และได้ห้ามมิให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและการปกครอง ผู้ใดละเมิดจะถูกลงโทษ ห้ามมิให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานและกลุ่มธุรกิจใดๆโดยเสรี รัฐจะเข้ามาควบคุมกิจการทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่
ระบบฟาสซิสม์ในช่วงระยะก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น มุ่งที่จะทำลายล้างรัฐบาลตามระบอบรัฐธรรมนูญทุกแห่งในโลกด้วยการใช้กำลัง
เมื่อมวลชนได้กลายมาเป็นปัจจัยที่สำคัยทางการเมือง ดังนั้น ถ้าประเทศที่ประชาชนไม่มีประสบการณ์ในด้านประชาธิปไตย ประเทศนั้นก็จะถูกปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยม แต่ถ้าประชาชนมีประสบการณ์ทางการเมืองอยู่บ้างก็อาจกลายเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ เช่น แบบฟาสซิสม์ไปได้
ระบบฟาสซิสม์ก็เหมือนระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยทั่วไปที่มีการใช้ สัญลักษณ์ เทคนิค และสถาบันต่างๆ ตามแบบรัฐบาลในระบบประชาธิปไตยเป็นการเลียนแบบ เช่น มีการใช้คำว่า " เสรีภาพ " " ประชาธิปไตยที่แท้จริง " " เจตนารมณ์ของประชาชน " แต่มีความหมายไปอีกทางหนึ่ง จากนั้นวิธีการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองก็ได้ลอกเลียนแบบกระบวนการในแบบประชาธิปไตย เช่น การใช้หนังสือพิมพ์ ใบปลิว การเดินขบวน การประท้วง เป็นต้น กระบวนการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจได้สร้างมาทั้งสิ้น
ระบบฟาสซิสม์นั้นมักจะขยายอำนาจเข้าไปในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม เช่น ในเยอรมันนีและญี่ปุ่น ทั้งนี้เพราะเหตุว่าเนื้อหาของฟาสซิสม์และนโยบายการปกครองของฟาสซิสม์เป็นสิ่งที่เรียกร้องความสนใจนักอุตสาหกรรมและชนชั้นกลาง
สำหรับนักอุตสาหกรรมนั้นสนับสนุนลัทธินี้ เพราะพวกฟาสซิสม์สัญญาว่าจะทำลายสหพันธ์กรรมกร ส่วนบรรดาชนชั้นกลางนั้นพอใจลัทธิฟาสซิสม์เพราะบุคคลเหล่านี้มีความปรารถณาที่จะเพิ่มพูนเสถียรภาพและความก้าวหน้าของตนเองแต่ไม่สามารถทำได้เพราะถูกขัดขวางโดยธุรกิจขนาดใหญ่ รือบรรดาผู้มีเงินทองทั้งหลาย ดังนั้น เมื่อลัทธิฟาสซิสม์ต้องการต่อต้านผู้ที่มีความมั่งคั่งจำกัดอำนาจบุคคลเหล่านั้น พวกกลุ่มชนชั้นกลางก็นิยม
โดยเชื่อว่าจะทำให้รากฐานของตนดียิ่งขึ้น ในหลายประเทศ เช่น อาร์เจนติน่า ลัทธินี้ได้รับการสนับสนุนโดยกรรมกรในเมือง ตัวอย่างเช่นพรรคเปรอง ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างยิ่งที่เป็นเช่นนี้อาจเพราะเหตุที่ว่าการปกครองแบบฟาสซิสม์นั้น แม้จะต่อต้านสหพันธ์กรรมกรแต่ก็ให้คำมั่นสัญญากับกรรมกรว่าจะให้ความมั่นคง
โดยเชื่อว่าจะทำให้รากฐานของตนดียิ่งขึ้น ในหลายประเทศ เช่น อาร์เจนติน่า ลัทธินี้ได้รับการสนับสนุนโดยกรรมกรในเมือง ตัวอย่างเช่นพรรคเปรอง ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างยิ่งที่เป็นเช่นนี้อาจเพราะเหตุที่ว่าการปกครองแบบฟาสซิสม์นั้น แม้จะต่อต้านสหพันธ์กรรมกรแต่ก็ให้คำมั่นสัญญากับกรรมกรว่าจะให้ความมั่นคง
ระบบฟาสซิสม์สนับสนุนการขยายอำนาจแบบจักรวรรดินิยม ดังนั้นจึงทำการยกย่องทหารเป็นพิเศษ ถือว่าบุคคลในอาชีพนี้เป็นผู้ที่มีเกียรติ กลุ่มทหารในบางประเทศเช่นญี่ปุ่นจึงสนับสนุนการปกครองดังกล่าว แต่เมื่อมีการปกครองแบบฟาสซิสม์เมื่อใดก็ต้องการให้มีการเปลี่ยนกำลังทหารให้เป็นครื่องมือของผู้นำ และกวาดล้างทหารที่ผู้ปกครองเองไม่ไว้วางใจเสียทั้งสิ้น
ระบบการปกครองแบบฟาสซิสม์อาจจะได้รับการสนับสนุนจากบรรดาประชาชนที่ว่างงาน โดยเฉพาะถ้าประเทศประสบปัญหาในด้านเศรษฐกิจ หรือเศรษฐกิจตกต่ำ ทั้งนี้เพราะฟาสซิสมืให้คำมั่นสัญญาว่าจะสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ลัทธิฟาสซิสม์ยังให้ความสำคัญแก่ประชาชนที่ว่างงาน
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของฟาสซิสม์ก็ดีหรือการให้ความหวังในบทบาทสำคัญของบุคคลเหล่านี้ก็ดี จะทำให้ผู้ว่างงานหันมาสนับสนุน เช่น การแต่งกายเครื่องแบบ ให้ประจำกาในกองทัพ ให้มีส่วนร่วมในการชุมชุม เดินพาเหรดต่างๆ ทำให้บุคคลเหล่านี้เชื่อมั่นในตนเองได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษของชาติแทนที่จะอยู่อย่างสิ้นหวังไม่มีค่าและไม่มีงานทำ
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของฟาสซิสม์ก็ดีหรือการให้ความหวังในบทบาทสำคัญของบุคคลเหล่านี้ก็ดี จะทำให้ผู้ว่างงานหันมาสนับสนุน เช่น การแต่งกายเครื่องแบบ ให้ประจำกาในกองทัพ ให้มีส่วนร่วมในการชุมชุม เดินพาเหรดต่างๆ ทำให้บุคคลเหล่านี้เชื่อมั่นในตนเองได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษของชาติแทนที่จะอยู่อย่างสิ้นหวังไม่มีค่าและไม่มีงานทำ
สาระสำคัญของลัทธิฟาสซิสม์
1. ต้องการให้บุคคลมีความเชื่อโดยไม่คนึงถึงเหตุผล
กล่าวคือ พยายามที่จะสั่งสอนและโน้มนำให้บุคคลเชื่ออย่างงมงายในการยึดถือชาติและผู้นำ ความจงรักภักดีและความผูกพันธ์ที่มนุษย์พึงมีต่อการปกครอง
ด้วยความเชื่ออย่างคลั่งไคล้ใหลหลงทำให้ประชาชนกลายเป็นกลไกในการปกครองของชาติ สิทธิเสรีภาพบางประการจึงถูกจำกัด โดยถือเอาความมั่นคงและความปลอดภัยของชาติเป็นสิ่งที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ประชาชนจะต้องเชื่อฟัง และปฎิบัติตามอำนาจอย่างเคร่งครัดมิฉะนั้นจะต้องถูกลงโทษ
กล่าวคือ พยายามที่จะสั่งสอนและโน้มนำให้บุคคลเชื่ออย่างงมงายในการยึดถือชาติและผู้นำ ความจงรักภักดีและความผูกพันธ์ที่มนุษย์พึงมีต่อการปกครอง
ด้วยความเชื่ออย่างคลั่งไคล้ใหลหลงทำให้ประชาชนกลายเป็นกลไกในการปกครองของชาติ สิทธิเสรีภาพบางประการจึงถูกจำกัด โดยถือเอาความมั่นคงและความปลอดภัยของชาติเป็นสิ่งที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ประชาชนจะต้องเชื่อฟัง และปฎิบัติตามอำนาจอย่างเคร่งครัดมิฉะนั้นจะต้องถูกลงโทษ
2. ไม่เชื่อว่ามนุษย์มีความเท่าเทียมกัน
กล่าวคือ ลัทธินีพยายามชี้ให้เห็นว่าความเชื่อถือเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันของมนุษย์ตามแนวความคิดของลัทธิการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นไม่ถูกต้อง เหตุว่า ตามสภาพความเป็นจริงมนุษย์ไม่มีความเท่าเทียมกันทั้งด้าร่างกายและพฤติกรรม เช่น ชายมีคุณสมบัติเหนือหญิง ทหารมีคุณสมบัติเหนือพลเรือน สมาชิกของพรรคฟาสซิสม์มีคุณสมบัติเหนือกว่าประชาชนทั่วไป ชาติย่อมมีฐานะเหนือเอกชน คนแข็งแรงย่อมอยู่ในฐานะเหนือกว่าคนอ่อนแอและผู้ชนะย่อมมีคุณสมบัติเหนือผู้แพ้ เป็นต้น
จากหลักดังกล่าวจึงเห็นได้ว่ามาตราฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินความมีฐานะเหนือกว่าบุคคลคืออำนาจ ดังนั้น ความไม่เท่าเทียมกันจึงเป็นอุดมการณ์ขั้นสูงสุดของลัทธินี้ ซึ่งมีผลต่อการกำหนดนโยบายทั้งภายในและภายนอกประเทศ
กล่าวคือ ลัทธินีพยายามชี้ให้เห็นว่าความเชื่อถือเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันของมนุษย์ตามแนวความคิดของลัทธิการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นไม่ถูกต้อง เหตุว่า ตามสภาพความเป็นจริงมนุษย์ไม่มีความเท่าเทียมกันทั้งด้าร่างกายและพฤติกรรม เช่น ชายมีคุณสมบัติเหนือหญิง ทหารมีคุณสมบัติเหนือพลเรือน สมาชิกของพรรคฟาสซิสม์มีคุณสมบัติเหนือกว่าประชาชนทั่วไป ชาติย่อมมีฐานะเหนือเอกชน คนแข็งแรงย่อมอยู่ในฐานะเหนือกว่าคนอ่อนแอและผู้ชนะย่อมมีคุณสมบัติเหนือผู้แพ้ เป็นต้น
จากหลักดังกล่าวจึงเห็นได้ว่ามาตราฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินความมีฐานะเหนือกว่าบุคคลคืออำนาจ ดังนั้น ความไม่เท่าเทียมกันจึงเป็นอุดมการณ์ขั้นสูงสุดของลัทธินี้ ซึ่งมีผลต่อการกำหนดนโยบายทั้งภายในและภายนอกประเทศ
3. ความเชื่อในหลักพฤติกรรมที่นิยมความรุนแรงและการโฆษณาชวนเชื่อ
หลักสคัญของแนวคิดนี้อยู่ที่การแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็น 2 พวกคือเพื่อนและศัตรู ( friend and enemy ) ซึ่งหมายความว่า บุคคลที่ไม่ใช่เพื่อนแล้วจะต้องเป็นศัตรูทั้งหมด ศัตรูอาจมีทั้งในประเทศและนอกประเทศ ศัตรูจะต้องถูกทำลายโดยสิ้นเชิง
และด้วยความเชื่อดังกล่าวนี้จึงทำให้เกิดสถาบันของการใช้กำลังที่รุนแรงเพื่อเป็นเครื่องมือของลัทธินี้ การใช้กำลังรุนแรงกระทำได้ในหลายประการ เพื่อสร้างความกลัว การล้างสมอง ค่ายกักกัน และการทำลายล้างให้ราบเรียบ
หลักสคัญของแนวคิดนี้อยู่ที่การแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็น 2 พวกคือเพื่อนและศัตรู ( friend and enemy ) ซึ่งหมายความว่า บุคคลที่ไม่ใช่เพื่อนแล้วจะต้องเป็นศัตรูทั้งหมด ศัตรูอาจมีทั้งในประเทศและนอกประเทศ ศัตรูจะต้องถูกทำลายโดยสิ้นเชิง
และด้วยความเชื่อดังกล่าวนี้จึงทำให้เกิดสถาบันของการใช้กำลังที่รุนแรงเพื่อเป็นเครื่องมือของลัทธินี้ การใช้กำลังรุนแรงกระทำได้ในหลายประการ เพื่อสร้างความกลัว การล้างสมอง ค่ายกักกัน และการทำลายล้างให้ราบเรียบ
4. หลักรัฐบาลโดยชนชั้นนำ
ความเชื่อของหลักการนี้อยู่ที่ว่าผู้นำของรัฐบาลหรือผู้นำประเทศนั้นเป็นผู้ที่มีความสามารถ มีการกระทำที่ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด เพราะเหตุที่ว่า ผู้นำได้เลือกสรรมาจากบุคคลในแนวคิดที่ว่า ผู้ปกครองประเทศเป็นชนกลุ่มน้อยที่สามารถ ชนกลุ่มนี้จะต้องเป็นผู้นำชนชั้นได้ สามารถใช้ความต้องการนั้นเป็นเครื่องมือในการสร้างฐานะของตนเอง ผุนำต้องผูกขาดอำนาจในการปกครอง
ความเชื่อของหลักการนี้อยู่ที่ว่าผู้นำของรัฐบาลหรือผู้นำประเทศนั้นเป็นผู้ที่มีความสามารถ มีการกระทำที่ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด เพราะเหตุที่ว่า ผู้นำได้เลือกสรรมาจากบุคคลในแนวคิดที่ว่า ผู้ปกครองประเทศเป็นชนกลุ่มน้อยที่สามารถ ชนกลุ่มนี้จะต้องเป็นผู้นำชนชั้นได้ สามารถใช้ความต้องการนั้นเป็นเครื่องมือในการสร้างฐานะของตนเอง ผุนำต้องผูกขาดอำนาจในการปกครอง
5. หลักการปกครองแบบเบ็ดเสร็จ
เห็นได้ว่า ฟาสซิสม์มีความเชื่อตามหลักการในระบอบเบ็ดเสร็จ เพราะลัทธิฟาสซิสม์ยึดมั่นว่า อำนาจเด็ดขาดเป็นอำนาจสูงสุดที่ครอบคลุมชีวิตประชาชนในชาติไว้ ดังนั้น กิจการทุกอย่างรวมทั้งระบบที่เกี่ยวเนื่องได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมแลพการเมือง ก็จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐด้วย
นอกจากนี้ลัทธิฟาสซิสม์ยังได้ถือว่าสิทธิของสตรีต้องถูกจำกัด เพราะสตรีไม่อาจจับอาวุทธขึ้นมาป้องกันประเทสได้ ดังนั้น สตรีจึงเป็นเสมือนบุคคลชั้นรองของประเทศ แม้ว่าลัทธิฟาสซิสม์จะได้โอนอ่อนผ่อนคลายไดบ้างเพื่อนนำไปใช้ในบางประเทศ เช่น การผ่อนผันไม่ควบคุมเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาก็ตาม แต่ลัทธิฟาสซิสม์ก็ยังถือเอาอำนาจและความรุนแรงเป็นเครื่องมือควบคุมการปกครองประเทศอยู่ดี
เห็นได้ว่า ฟาสซิสม์มีความเชื่อตามหลักการในระบอบเบ็ดเสร็จ เพราะลัทธิฟาสซิสม์ยึดมั่นว่า อำนาจเด็ดขาดเป็นอำนาจสูงสุดที่ครอบคลุมชีวิตประชาชนในชาติไว้ ดังนั้น กิจการทุกอย่างรวมทั้งระบบที่เกี่ยวเนื่องได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมแลพการเมือง ก็จำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐด้วย
นอกจากนี้ลัทธิฟาสซิสม์ยังได้ถือว่าสิทธิของสตรีต้องถูกจำกัด เพราะสตรีไม่อาจจับอาวุทธขึ้นมาป้องกันประเทสได้ ดังนั้น สตรีจึงเป็นเสมือนบุคคลชั้นรองของประเทศ แม้ว่าลัทธิฟาสซิสม์จะได้โอนอ่อนผ่อนคลายไดบ้างเพื่อนนำไปใช้ในบางประเทศ เช่น การผ่อนผันไม่ควบคุมเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาก็ตาม แต่ลัทธิฟาสซิสม์ก็ยังถือเอาอำนาจและความรุนแรงเป็นเครื่องมือควบคุมการปกครองประเทศอยู่ดี
6. หลักความนิยมในเชื้อชาติ
ความเชื่อตามหลักการนี้มีอยู่ว่า ชนชั้นนำมีอุดมการณ์ของฟาสซิสม์เป็นผู้ที่ต้องมีฐานะเหนือชนชั้นอิ่น ชนชั้นนำมีอำนาจและบังคับให้ผู้อื่นยอมรับและนำเอาเจตนานรมณ์ขงตนไปปฏิบัติ ประเทศที่ประกอบไปด้วยกลุ่มชนชั้นนำจะเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีฐานะเหนือชาติอื่น ชนชั้นที่เป็นบุคคลที่มีเชื้อสายที่มีความบริสุทธิและมีความสามารถพิเศษ เช่น ชนเผ่าอารายันของประเทศเยอรมันนี เป็นต้น
และโดยเหตุที่ชนชั้นนำมีเชื้อชาติเผ่าพันธ์เหนือชนชั้นอื่น ดังนั้น จึงทำให้เกิดวัตถุประสงค์ที่จะสนองตอบต่อความเชื่อดังกล่าว โดยการเพิ่มพูนฐานะอำนาจและชื่อเสียงเผ่าพันธ์ของตน รวมทั้งการที่จะขยายเผ่าพันธ์ของตนให้ครอบคลุมไปทั่วโลก หลักสำคัญของความเชื่อมั่นในชาติอันได้แก่ ความเก่าแก่และมั่นคงของเผ่าพันธ์ หรือการสืบเชื้อสายมาจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถและอำนาจอันพิเศษเหนือมนุษญ์เชื้อชาติอื่น เช่น ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นพวกที่มีเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ซึ่งเป็นสมมติเทพ
ดังนั้น ชนชาวญี่ปุ่นต้องเป็นผู้เข้มแข็ง สามารถปกครองชาติต่างๆได้ทั่วโลก เสมือนดังพระอาทิตย์ที่มใหเอนาจต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของพลโลกทั่วทั้งจักรวาล ชาวเยอรมันยึดมั่นในความบริสุทธิของสายโลหิตที่มีความเฉลียวฉลาด และมีอำนาจเหนือชาติอื่น
ความเชื่อตามหลักการนี้มีอยู่ว่า ชนชั้นนำมีอุดมการณ์ของฟาสซิสม์เป็นผู้ที่ต้องมีฐานะเหนือชนชั้นอิ่น ชนชั้นนำมีอำนาจและบังคับให้ผู้อื่นยอมรับและนำเอาเจตนานรมณ์ขงตนไปปฏิบัติ ประเทศที่ประกอบไปด้วยกลุ่มชนชั้นนำจะเป็นประเทศมหาอำนาจที่มีฐานะเหนือชาติอื่น ชนชั้นที่เป็นบุคคลที่มีเชื้อสายที่มีความบริสุทธิและมีความสามารถพิเศษ เช่น ชนเผ่าอารายันของประเทศเยอรมันนี เป็นต้น
และโดยเหตุที่ชนชั้นนำมีเชื้อชาติเผ่าพันธ์เหนือชนชั้นอื่น ดังนั้น จึงทำให้เกิดวัตถุประสงค์ที่จะสนองตอบต่อความเชื่อดังกล่าว โดยการเพิ่มพูนฐานะอำนาจและชื่อเสียงเผ่าพันธ์ของตน รวมทั้งการที่จะขยายเผ่าพันธ์ของตนให้ครอบคลุมไปทั่วโลก หลักสำคัญของความเชื่อมั่นในชาติอันได้แก่ ความเก่าแก่และมั่นคงของเผ่าพันธ์ หรือการสืบเชื้อสายมาจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถและอำนาจอันพิเศษเหนือมนุษญ์เชื้อชาติอื่น เช่น ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นพวกที่มีเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ซึ่งเป็นสมมติเทพ
ดังนั้น ชนชาวญี่ปุ่นต้องเป็นผู้เข้มแข็ง สามารถปกครองชาติต่างๆได้ทั่วโลก เสมือนดังพระอาทิตย์ที่มใหเอนาจต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของพลโลกทั่วทั้งจักรวาล ชาวเยอรมันยึดมั่นในความบริสุทธิของสายโลหิตที่มีความเฉลียวฉลาด และมีอำนาจเหนือชาติอื่น
7. หลักความไม่เห็นด้วยกับกฏหมายและพฤติกรรมระหว่างประเทศ
ความเชื่อในหลักการนี้ตั้งอยู่บนความเชื่อในความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศ ความรุนแรง เชื้อชาตินิยม จักรวรรดินิยมและสงคราม ถือว่าเป็นหลักการและเครื่องมือสำคัยของรัฐ โดยเน้นที่สงครามและอุดมคติเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ขัดกับหลักการประชาธิปไตยทั้งสิ้น
ความเชื่อในหลักการนี้ตั้งอยู่บนความเชื่อในความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศ ความรุนแรง เชื้อชาตินิยม จักรวรรดินิยมและสงคราม ถือว่าเป็นหลักการและเครื่องมือสำคัยของรัฐ โดยเน้นที่สงครามและอุดมคติเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ขัดกับหลักการประชาธิปไตยทั้งสิ้น
บทความนี้ผมได้นำมาจากหนังสือแบบเรียนเล่มหนึ่ง โทษทีที่จำชื่อหนังสือไม่ได้ เพราะว่าถ่ายเอกสารเก็บไว้หลายปีแล้ว
ก็เอามาให้อ่านกันจะได้เพิ่มเต็มความรู้กัน จะได้รู้ว่าทำไมพั้งค์ถึงเกลียดฟาสซิสม์
FASCISM
คำว่าฟาสซิสม์ มีต้นกำเนิดที่ประเทศอิตาลี โดยรัฐบาลฟาสซิสม์ถูกจัดตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อนำอิตาลีเข้าสู่สงครามภายใต้การนำของเบนิโต มุสโสลินี.
ฟาสซิสม์เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพในทางการผลิตมากที่สุดภายในเวลาที่น้อยที่สุด เพราะภายใต้ฟาสซิสม์ สังคมจะดำเนินไปพร้อมๆกันภายใต้จุดหมายเดียวกัน ไม่มีใครคัดค้านการนำของผู้นำสูงสุด ฟาสซิสม์จึงเป็นอุดมการณ์ที่อันตราย เพราะไม่มีฝ่ายใดช่วยถ่วงดุลการใช้อำนาจของผู้นำไว้ได้เลย
ฟาสซิสม์เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพในทางการผลิตมากที่สุดภายในเวลาที่น้อยที่สุด เพราะภายใต้ฟาสซิสม์ สังคมจะดำเนินไปพร้อมๆกันภายใต้จุดหมายเดียวกัน ไม่มีใครคัดค้านการนำของผู้นำสูงสุด ฟาสซิสม์จึงเป็นอุดมการณ์ที่อันตราย เพราะไม่มีฝ่ายใดช่วยถ่วงดุลการใช้อำนาจของผู้นำไว้ได้เลย
ส่วนความหมายของคำว่าฟาสซิสม์ ( fascism ) นั้นมาจากศัพท์ภาษาลาตินว่า Fasces แปลว่า การผูกไว้ด้วยกัน ซึ่งมุสโสลินีให้ความหมายว่า คือการผูกมัดอำนาจรัฐกับอำนาจบรรษัท ( Fascism should be called corporation since it is the merger of state and corporate power )
แนวความคิดของฟาสซิสม์พอสรุปใจความสำคัญได้ดังนี้
1.แนวความคิดเรื่องรัฐ
ฟาสซิสม์มีแนวความคิดที่ว่า รัฐมีความสำคัญกว่าปัจเจกบุคคล ซึ่งอยู่คนละขั้วกับเสรีนิยม เพราะเสรีนิยมมองว่าหน้าที่ของรัฐคือ การปฏิบัติต่อปัจเจกบุคคล แต่ฟาสซิสม์มองกลับกันคือ ปัจเจกบุคคลจะต้องปฏิบัติรับใช้รัฐ
ฟาสซิสม์มีแนวความคิดที่ว่า รัฐมีความสำคัญกว่าปัจเจกบุคคล ซึ่งอยู่คนละขั้วกับเสรีนิยม เพราะเสรีนิยมมองว่าหน้าที่ของรัฐคือ การปฏิบัติต่อปัจเจกบุคคล แต่ฟาสซิสม์มองกลับกันคือ ปัจเจกบุคคลจะต้องปฏิบัติรับใช้รัฐ
รัฐในความหมายของฟาสซิสม์จึงมีอำนาจเผด็จการ มุสโสลินีมองประเด็นนี้ว่า ประชาชนและกลุ่มธุรกิจต้องทำงานเพื่ออุทิศแก่รัฐ รัฐบาลจะเป็นผู้ชี้ขาดและมีอำนาจสูงสุด เป็นการแบ่งแยกชนชั้นกันชัดเจนระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง นอกจากนี้รัฐบาลของฟาสซิสม์ยังควบคุมทุกอย่างไม่ว่า จะเป็นการศึกษา การสื่อสาร และองค์ความรู้ต่างๆ
2.ชาตินิยม
ฟาสซิสม์มุ่งเน้นความเป็นชาติที่มีความหมายถึงประชาชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน ลัทธิฟาสซิสม์สนับสนุนให้ประชาชนอุทิศตนเองให้กับชาติเหนือสิ่งอื่นใดๆทั้งมวล
ฟาสซิสม์มุ่งเน้นความเป็นชาติที่มีความหมายถึงประชาชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน ลัทธิฟาสซิสม์สนับสนุนให้ประชาชนอุทิศตนเองให้กับชาติเหนือสิ่งอื่นใดๆทั้งมวล
3.ต่อต้านเสรีนิยม
ฟาสซิสม์ไม่ได้ต่อต้านรัฐที่เป็นเสรีนิยมเท่านั้น แต่ฟาสซิสม์ยังต่อต้านแนวความคิดของพวกเสรีนิยมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นระบบการเมืองแบบรัฐสภา ฟาสซิสม์มองว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีพรรคฝ่ายค้าน เพราะจะทำให้ประเทศพัฒนาไปอย่างเชื่องช้าเพราะมัวแต่ถกเถียงกัน
ฟาสซิสม์ไม่ได้ต่อต้านรัฐที่เป็นเสรีนิยมเท่านั้น แต่ฟาสซิสม์ยังต่อต้านแนวความคิดของพวกเสรีนิยมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นระบบการเมืองแบบรัฐสภา ฟาสซิสม์มองว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีพรรคฝ่ายค้าน เพราะจะทำให้ประเทศพัฒนาไปอย่างเชื่องช้าเพราะมัวแต่ถกเถียงกัน
4.ลัทธิทหารนิยม
ลัทธิทหารนิยมถูกนำมาเพื่อสร้างอำนาจเด็ดขาดสำหรับผู้นำของประเทศ ในกรณีของนโยบายระหว่างประเทศลัทธิฟาสซิสม์ มักจะรุกรานประเทศอื่นๆเพื่อขยายดินแดนเพิ่มเติม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อิตาลีรุกรานเอธิโอเปีย เช่นเดียวกับ ฮิตเลอร์ที่ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายและบุกประเทศโปแลนด์ในช่วงเดียวกัน ส่วนภายในประเทศลัทธิทหารนิยมก็จะถูกนำมาใช้ปราบปรามผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งกับผู้นำ
ลัทธิทหารนิยมถูกนำมาเพื่อสร้างอำนาจเด็ดขาดสำหรับผู้นำของประเทศ ในกรณีของนโยบายระหว่างประเทศลัทธิฟาสซิสม์ มักจะรุกรานประเทศอื่นๆเพื่อขยายดินแดนเพิ่มเติม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อิตาลีรุกรานเอธิโอเปีย เช่นเดียวกับ ฮิตเลอร์ที่ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายและบุกประเทศโปแลนด์ในช่วงเดียวกัน ส่วนภายในประเทศลัทธิทหารนิยมก็จะถูกนำมาใช้ปราบปรามผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งกับผู้นำ
5.ความเป็นเผด็จการ
ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของลัทธิฟาสซิสม์คือ ความเป็นเผด็จการของผู้นำประเทศแต่เพียงผู้เดียว นอกจากนี้ยังมีการเชิดชูผู้นำหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการติดรูปขนาดใหญ่ การสร้างรูปปั้นของผู้นำทั่วประเทศ การนำชื่อผู้นำไปตั้งเป็นชื่อสถานที่สำคัญๆและ ผู้นำจะมีความเชื่อมั่นว่าตนเองเป็นผู้มีความฉลาดสูงสุด และมักจะทำอะไรถูกไปหมด
ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของลัทธิฟาสซิสม์คือ ความเป็นเผด็จการของผู้นำประเทศแต่เพียงผู้เดียว นอกจากนี้ยังมีการเชิดชูผู้นำหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการติดรูปขนาดใหญ่ การสร้างรูปปั้นของผู้นำทั่วประเทศ การนำชื่อผู้นำไปตั้งเป็นชื่อสถานที่สำคัญๆและ ผู้นำจะมีความเชื่อมั่นว่าตนเองเป็นผู้มีความฉลาดสูงสุด และมักจะทำอะไรถูกไปหมด
6.ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
ฟาสซิสม์มักจะต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่เสมอ ถึงแม้ว่าฟาสซิสม์จะมีอะไรหลายอย่างคล้ายคลึงกับลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ตาม ด้วยฟาสซิสม์เป็นศัตรูโดยตรงกับลัทธิคอมมิวนิสต์นี่เอง ในช่วงสงครามเย็นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงใช้ประเทศเผด็จการทหารแบบฟาสซิสม์ เป็นเครื่องมือในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
ฟาสซิสม์มักจะต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่เสมอ ถึงแม้ว่าฟาสซิสม์จะมีอะไรหลายอย่างคล้ายคลึงกับลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ตาม ด้วยฟาสซิสม์เป็นศัตรูโดยตรงกับลัทธิคอมมิวนิสต์นี่เอง ในช่วงสงครามเย็นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงใช้ประเทศเผด็จการทหารแบบฟาสซิสม์ เป็นเครื่องมือในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์
ชาติที่นำความคิดแบบฟาสซิสม์มาใช้นอกเหนือจากอิตาลีแล้วก็มีฮิตเลอร์ที่พัฒนาปรัชญาการปกครองคล้ายกับมุสโสลินี แต่เพิ่มชาตินิยมคลั่งชาติเข้าไป โดยถือว่าชาวเยอรมัน ตาสีฟ้า ผมสีทอง คือชาติอารยัน ส่วนชนชาติอื่นเช่น ยิว สลาฟ นิโกร ฯลฯ เป็นชนชาติสถุล สมควรถูกขจัดให้หมดสิ้นไป
เคมาล อตาเติร์ก ผู้เผด็จการชาวตุรกี ก็ใช้ชาตินิยมผนึกชาวเติร์กแล้วเข่นฆ่าชาวกรีกและอาร์เมเนียนเป็นเรือนแสน บังคับให้ประชาชนแต่งตัวแบบสากลนิยม เลิกประเพณีเก่าแก่เปลี่ยนอักษรจากอาหรับเป็นโรมัน ฯลฯ จนเป็นเหตุในตุรกีไม่สงบมาจนถึงปัจจุบัน
เคมาล อตาเติร์ก ผู้เผด็จการชาวตุรกี ก็ใช้ชาตินิยมผนึกชาวเติร์กแล้วเข่นฆ่าชาวกรีกและอาร์เมเนียนเป็นเรือนแสน บังคับให้ประชาชนแต่งตัวแบบสากลนิยม เลิกประเพณีเก่าแก่เปลี่ยนอักษรจากอาหรับเป็นโรมัน ฯลฯ จนเป็นเหตุในตุรกีไม่สงบมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนในของเอเชียเราก็เริ่มด้วยญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลก ทหารได้ยึดอำนาจรัฐ ยกเลิกระบบประชาธิปไตย รุกรานจีนแล้วนำประเทศเข้าสู่ความพินาศในสงครามโลกครั้งที่ 2
หันกลับมาดูประเทศไทยเรา จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ก่อตั้งรัฐเผด็จการทหารแบบญี่ปุ่นขึ้น แล้วใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อปลุกระดมความหลงชาติ คลั่งชาติ สร้างรัฐนิยม เช่น การใส่หมวกแบบฝรั่ง รณรงค์ให้เลิกกินหมากหรือแม้กระทั่งปลุกความเชื่อว่า " เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย " ห้ามการเรียนการสอนภาษาจีน เพราะหวาดกลัวอิทธิพลของคอมมิวนิสต์จีน
ที่ร้ายที่สุดก็คือการนำประเทศไทยเข้าฝ่ายอักษะ ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร แล้วยังส่งกองทัพเข้ายึดดินแดนบางส่วนของประเทศเพื่อนบ้าน ภายหลังเมื่อฝ่ายอักษะแพ้สงคราม หากไม่มี " เสรีไทย " มาช่วยกอบกู้สถานการณ์ไว้แล้ว ไทยเราก็คงอยู่ในภาวะการณ์ของการเป็นประเทศผู้แพ้สงครามตกเป็นเชลยศึกของฝ่ายอักษะเป็นแน่
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง มุสโสลินีถูกจับยิงเป้าแล้วแขวนศพประจาน ฮิตเลอร์ฆ่าตัวตาย และนายพลโตโจถูกแขวนคอ บ้านเมืองของเขากลับสู่ภาวะประชาธิปไตย แต่ของไทยเรากลับไม่เป็นเช่นนั้น จอมพล ป. กลับคืนสู่อำนาจและถูกรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ จนต้องหนีออกนอกประเทศไป และเมื่อจอมพลสฤษดิ์สิ้นชีวิตลงก็ถูกยึดทรัพย์โดยจอมพลถนอมที่ครองอำนาจคู่กับจอมพลประภาส จวบจนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จึงได้สิ้นอำนาจลง และก็ถูกยึดทรัพย์อีกเช่นกัน
เหตุการณ์ต่างๆก็ทำท่าว่าจะไปด้วยดี หากไม่มีเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และรสช.เกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดเหตุพฤษภาทมิฬ 2535 แล้วก็ดูเหมือนว่าลัทธิฟาสซิสม์จะสิ้นชีพไปจากเมืองไทยแล้ว แต่เมื่อมาพิเคราะห์ถึงสถานการณ์บ้านเมืองของไทยในปัจจุบันแล้ว จะเห็นได้ว่าแทบไม่ต่างกับเหตุการณ์ในอดีตแต่อย่างใดเลย เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบใหม่จากการยึดอำนาจโดยทหาร มาเป็นการยึดอำนาจแบบเบ็ดเสร็จโดยนายทุนไม่กี่ตระกูลเท่านั้นเอง
นโยบายต่างๆไม่ว่า การที่ต้องเชื่อฟังท่านผู้นำตามมาตรการมงฟอร์ต หรือการใช้มาตรการรุนแรง การฆ่าตัดตอน การอุ้มฆ่าหรือล่าสุดก็คือการออกกฎหมายปิดปากที่เปรียบเสมือนกับการปิดประตูตีแมวไม่ให้คนนอกเข้าไปรู้เห็น ไม่ให้เสียงที่ร้องโหยหวนจาการทารุณกรรมดังออกไปข้างนอก ฯลฯ นั้นไม่ต่างกับยุคสมัยที่ฟาสซิสม์ครองเมืองแต่อย่างใด
กงล้อประวัติศาสตร์มักจะหมุนย้อนกลับมาเวียนรอบอีกเสมอ หากยังปฏิบัติในรูปรอยเดิมและบทสุดท้ายของผู้นำที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตไม่ว่าจะเป็นมุสโสลินี ฮิตเลอร์ โตโจ จอมพล ป. จอมพลถนอม จอมพลประภาส เป็นอย่างไรบ้าง ย่อมเป็นบทเรียนที่ดีและมีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วในอดีต
แล้วเรายังจะเดินรอยตามอยู่อีกหรือ
แล้วเรายังจะเดินรอยตามอยู่อีกหรือ
อันนี้เป็นบทความอันเก่าที่เคยลงไปแล้วแต่เราลบกระทู้ทิ้งเพื่อทำใหม่ให้ดีกว่าเดิม
อันนี้เป็นบทความที่เรายืมมาจาก เวปมหาลัยเที่ยงคืน
บทความนี้น่าสนใจตรงที่เค้านำเรื่องราวของเผด็จการในไทยมาผูกเรื่องต่อกับฟาสซิสม์ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นเลยว่า ผู้นำที่เป็นเผด็จการนั้น ไม่ได้มีอำนาจค้ำฟ้าไปตลอด หนำซ้ำยังตายเหมือนหมาอีกต่างหาก
Credit
- http://www.yimwhan.com/board/show.php?user=soundofstreet&topic=6&Cate=8
- User : Soundofstreet
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น