เสรีนิยม
Liberalism
คําว่าเสรีนิยมไม่ได้ถูกนํามาใช้เฉพาะทางการเมืองเท่านั้น แต่มันยังหมายถึงอุดมการณ์ที่เกี่ยวข้องค่านิยมต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์ในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ไม่ว่าจะเป็นการต่อต้านลัทธิทหาร และต่อต้านรัฐสวัสดิการ อุดมการณ์เสรีนิยมยังได้ถูกนํ ามาใช้ในความหมายว่าใจกว้าง ( Generous ) นักปฏิวัติ ( Reformist ) หรือนักทดลอง ( Experimental ) อีกด้วย
ต้นกําเนิดของอุดมการณ์เสรีนิยมซึ่งสามารถย้อนกลับไปได้ถึงช่วงศตวรรษที่ 17 ในช่วงการการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ( Glorious Revolution ) เพื่อต่อต้านการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นักคิดคนสําคัญในอุดมการณ์นี้คือจอนห์ ล็อค ( John Locke ) ซึ่งเขาได้สร้างพื้นฐานของแนวความคิดแบบเสรีนิยม ที่ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เราสามารถมองแนวความคิดเรื่องเสรีนิยมได้เป็นดังนี้
ต้นกําเนิดของอุดมการณ์เสรีนิยมซึ่งสามารถย้อนกลับไปได้ถึงช่วงศตวรรษที่ 17 ในช่วงการการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ( Glorious Revolution ) เพื่อต่อต้านการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นักคิดคนสําคัญในอุดมการณ์นี้คือจอนห์ ล็อค ( John Locke ) ซึ่งเขาได้สร้างพื้นฐานของแนวความคิดแบบเสรีนิยม ที่ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เราสามารถมองแนวความคิดเรื่องเสรีนิยมได้เป็นดังนี้
1. เสรีภาพส่วนบุคคล ( Individual Liberty )
เสรีภาพส่วนบุคคลเป็นสิ่งแรกและเป็นสิ่งสําคัญที่สุดของพวกเสรีนิยม เสรีภาพส่วนบุคคลหมายถึงเสรีภาพที่คนแต่ละคนมีในตัวเอง สามารถทําอะไรก็ได้ด้วยความเต็มใจ โดยไม่มีอํานาจใด ๆ เข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของปัจเจกบุคคล
เป็นที่น่าสังเกตว่าแนวความคิดเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคลนี้มักจะนําเข้ามาจากตะวันตก ไม่ได้มีต้นกําเนิดในตะวันออก เพราะทางตะวันออกเชื่อว่า หากทุกคนมีเสรีภาพส่วนบุคคลแล้ว สังคมอาจจะเดือดร้อน เพราะแต่ลคนทําตามความต้องการของตัวเอง
สําหรับชาวตะวันออกเชื่อกันว่าบุคคลจะต้องให้ความเคารพต่อสังคมก่อน เมื่อไม่มีใครละเมิดสิทธิของสังคม บุคคลก็จะไม่ได้รับการละเมิดสิทธิ สังคมตะวันออกจึงให้ความสํ าคัญกับสังคมโดยรวม มากกว่าบุคคลนี่เองเป็นึความแตกต่างที่นําไปสู่การโต้เถียงอย่างไม่มีวันจบในเรื่องเสรีภาพในคําจํ ากัดความของตะวันตกและตะวันออก
เป็นที่น่าสังเกตว่าแนวความคิดเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคลนี้มักจะนําเข้ามาจากตะวันตก ไม่ได้มีต้นกําเนิดในตะวันออก เพราะทางตะวันออกเชื่อว่า หากทุกคนมีเสรีภาพส่วนบุคคลแล้ว สังคมอาจจะเดือดร้อน เพราะแต่ลคนทําตามความต้องการของตัวเอง
สําหรับชาวตะวันออกเชื่อกันว่าบุคคลจะต้องให้ความเคารพต่อสังคมก่อน เมื่อไม่มีใครละเมิดสิทธิของสังคม บุคคลก็จะไม่ได้รับการละเมิดสิทธิ สังคมตะวันออกจึงให้ความสํ าคัญกับสังคมโดยรวม มากกว่าบุคคลนี่เองเป็นึความแตกต่างที่นําไปสู่การโต้เถียงอย่างไม่มีวันจบในเรื่องเสรีภาพในคําจํ ากัดความของตะวันตกและตะวันออก
2. ธรรมชาติของมนุษย์ ( Human Nature )
พวกเสรีนิยมเป็นพวกที่มีทัศนคติที่ดีต่อธรรมชาติของมนุษย์ พวกนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ว่าเกิดมาเป็นคนดีอยู่แล้ว แต่ละคนมีความสมบูรณ์อยู่ในตัวเองโดยที่ไม่จําเป็นต้องมาอยู่ร่วมกัน
การรวมตัวกันเป็นสังคมของมนุษย์เกิดขึ้นเพราะต้องการให้เกิดรัฐบาลที่จะทําสิ่งที่พวกเขาไม่สามารถทําเองได้ อาทิเช่นการแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ การจัดการศึกษา สุขภาพหรือการสาธารณูปโภค ความเชื่อที่ว่า มนุษย์เกิดมาดีอยู่แล้วนี้ ทํ าให้พวกเสรีนิยมเชื่อมั่นในตัวมนุษย์เป็นอย่างมาก
การรวมตัวกันเป็นสังคมของมนุษย์เกิดขึ้นเพราะต้องการให้เกิดรัฐบาลที่จะทําสิ่งที่พวกเขาไม่สามารถทําเองได้ อาทิเช่นการแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ การจัดการศึกษา สุขภาพหรือการสาธารณูปโภค ความเชื่อที่ว่า มนุษย์เกิดมาดีอยู่แล้วนี้ ทํ าให้พวกเสรีนิยมเชื่อมั่นในตัวมนุษย์เป็นอย่างมาก
3. เหตุผล ( Reason )
เสรีนิยมให้ความสํ าคัญต่อการใช้เหตุผล และเชื่อมั่นว่าหากมีการใช้เหตุผลแก้ปัญหาต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นสงคราม, การก่อการร้าย, ยาเสพติด หรือการแย่งชิงทรัพยากรจะต้องแก้ไขได้ นอกจากนี้พวกเขายังเชื่อว่าสงครามเกิดขึ้นเพราะการเข้าใจผิดหรืออาจะเป็นการใช้เหตุผลไม่เพียงพอ
ดังนั้นหากสามารถเพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดได้ อาชญากรรมเกิดขึ้นไม่ใช่เพราะคนเลว แต่เป็นเพราะภาวะบีบขึ้นทางสังคมหากสังคมดีก็จะไม่มีอาชญากร
ดังนั้นหากสามารถเพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดได้ อาชญากรรมเกิดขึ้นไม่ใช่เพราะคนเลว แต่เป็นเพราะภาวะบีบขึ้นทางสังคมหากสังคมดีก็จะไม่มีอาชญากร
4. ความก้าวหน้า ( Progress )
พวกเสรีนิยมมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับความก้าวหน้า พวกเขาเชื่อมั่นว่าหากขยายความรู้และเหตุผลและปรับปรุงเศรษฐกิจ สังคมจะพัฒนาไปด้วยกันเป็นเส้นตรง นอกจากนี้คนเราจะต้องหันหน้าออกจากความเชื่อเหนือธรรมชาติไปสู่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์
5. ความเท่าเทียมกัน ( Equality )
พวกเสรีนิยมสนับสนุนความเท่าเทียมกันของโอกาส ( Equality of Opportunities ) และมีความเชื่อมั่นว่าหากทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกัน แต่ละคนจะดึงความสามารถของตัวเองนํามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด
6. ความเป็นสากล ( Universalism )
ถึงแม้ว่าพวกเสรีนิยมจะสนับสนุนให้แต่ละคนสามารถคิดได้ด้วยตัวเอง แต่พวกเสรีนิยมกลับไม่ค่อยยอมรับความแตกต่างของแนวความคิดที่ตรงกันข้ามกับพวกเดียวกัน
ยกตัวอย่างเช่นพวกเสรีนิยมเชื่อว่าสิทธิมนุษยชนสามารถใช้ได้เหมือนกันทั่วโลก และพยายามกดดันให้ประเทศอื่น ๆ ยอมรับในแนวความคิดของตัวเอง เพราะแนวความคิดของตัวเองใช้การได้ทั่วโลก ตัวอย่างเช่นเรื่องสิทธิมนุษยชน ที่เป็นที่ถกเถียงกันจนถึงปัจจุบันว่าเป็นสิ่งสากลตามที่บางกลุ่มกล่าวอ้าง หรือเป็นวัฒนธรรมของแต่ละชาติ
ยกตัวอย่างเช่นพวกเสรีนิยมเชื่อว่าสิทธิมนุษยชนสามารถใช้ได้เหมือนกันทั่วโลก และพยายามกดดันให้ประเทศอื่น ๆ ยอมรับในแนวความคิดของตัวเอง เพราะแนวความคิดของตัวเองใช้การได้ทั่วโลก ตัวอย่างเช่นเรื่องสิทธิมนุษยชน ที่เป็นที่ถกเถียงกันจนถึงปัจจุบันว่าเป็นสิ่งสากลตามที่บางกลุ่มกล่าวอ้าง หรือเป็นวัฒนธรรมของแต่ละชาติ
7. ค่านิยมต่อรัฐบาล ( Government )
อุดมการณ์เสรีนิยมถูกสถาปนามาด้วยความเชื่อที่ว่า รัฐบาลจะต้องปกปักรักษาซึ่งความมีเสรีภาพของแต่ละบุคคล โทมัส เพนท ( Thomas Paine ) นักปฏิวัติคนแรก ๆของสหรัฐอเมริกา เขียนไว้ในหนังสือชื่อ Common Sense ไว้ว่า " Society in every state is a blessing, but government, even in it’s best state, is but a necessary evil " สังคมในทุก ๆรัฐเป็นสังคมที่ดีอยู่แล้ว แต่แม้กระทั่งรัฐบาลที่ดีที่สุดก็คือปิศาจที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
8. เสรีภาพทางเศรษฐกิจ ( Economic Freedom )
อุดมการณ์แบบเสรีนิยมสนับสนุนการค้าเสรี ( Laissez - faire ) ในศตวรรษที่ 17 แนวความคิดแบบการค้าเสรีเกิดขึ้นมาเพื่อต่อต้านลัทธิพาณิชย์นิยม ( Mercantilism ) ซึ่งสนับสนุนการค้าแบบผูกขาดโดยรัฐบาลเสรีนิยมเป็นอุดมการณ์ที่เกิดขึ้นมาในศตวรรษที่ 17 ซึ่งในปัจจุบันสภาพสังคมและเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมาย
พวกเสรีนิยมในปัจจุบันจึงรับเอาแนวความคิดของพวกอนุรักษ์นิยมมาปรับโดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น พวกเสรีนิยมใหม่ยอมรับความจําเป็นที่จะต้องสร้างรัฐที่มีความเข้มแข็งเพื่อชี้นําธุรกิจและสร้างรัฐสวัสดิการ
นอกจากนี้พวกเขายังสนับสนุนให้รัฐบาลช่วยกําจัดสิ่งปฏิกูลของระบบทุนนิยม เช่น ปัญหาสังคม การไร้ที่อยู่อาศัย และการว่างงาน เป็นต้น
พวกเสรีนิยมในปัจจุบันจึงรับเอาแนวความคิดของพวกอนุรักษ์นิยมมาปรับโดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น พวกเสรีนิยมใหม่ยอมรับความจําเป็นที่จะต้องสร้างรัฐที่มีความเข้มแข็งเพื่อชี้นําธุรกิจและสร้างรัฐสวัสดิการ
นอกจากนี้พวกเขายังสนับสนุนให้รัฐบาลช่วยกําจัดสิ่งปฏิกูลของระบบทุนนิยม เช่น ปัญหาสังคม การไร้ที่อยู่อาศัย และการว่างงาน เป็นต้น
อนุรักษ์นิยม
Conservatism
อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมดูเหมือนว่าจะอยู่คนละขั้วกับพวกเสรีนิยม พวกเสรีนิยมมักจะเรียกพวกอนุรักษ์นิยมว่า
“ Someone who believes nothing should ever be done for the first time.”
หรือ “ คนที่ไม่เชื่อว่าจะมีอะไรที่ควรทําเป็นครั้งแรก ”
พวกอนุรักษ์นิยมได้รับชื่อว่าเป็นพวกฝ่ายขวา พวกปฏิกริยา ( Reactionary ) พวกระมัดระวัง ( Cautious )ทางสายกลาง ( Moderate ) และเชื่องช้า ( Slow )
ตามประวัติศาสตร์พวกอนุรักษ์นิยมเกิดขึ้นเมื่อประมาณศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นการต่อต้านอิทธิพลของการปฏิวัติฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามรากฐานของอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมสามารถย้อนกลับไปได้ในสมัยกรีกโบราณ โดยเฉพาะแนวปรัชญาทางการเมืองของเพลโต ซึ่งมีความคิดค่อนข้างอนุรักษ์นิยมมาก เราสามารถวิเคราะห์อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมได้ดังนี้
หรือ “ คนที่ไม่เชื่อว่าจะมีอะไรที่ควรทําเป็นครั้งแรก ”
พวกอนุรักษ์นิยมได้รับชื่อว่าเป็นพวกฝ่ายขวา พวกปฏิกริยา ( Reactionary ) พวกระมัดระวัง ( Cautious )ทางสายกลาง ( Moderate ) และเชื่องช้า ( Slow )
ตามประวัติศาสตร์พวกอนุรักษ์นิยมเกิดขึ้นเมื่อประมาณศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นการต่อต้านอิทธิพลของการปฏิวัติฝรั่งเศส อย่างไรก็ตามรากฐานของอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมสามารถย้อนกลับไปได้ในสมัยกรีกโบราณ โดยเฉพาะแนวปรัชญาทางการเมืองของเพลโต ซึ่งมีความคิดค่อนข้างอนุรักษ์นิยมมาก เราสามารถวิเคราะห์อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมได้ดังนี้
1. ระเบียบและความมั่นคง ( Order and Stability )
พวกอนุรักษ์นิยมเชื่อมั่นว่าระเบียบและความมั่นคงเป็นสิ่งสําคัญที่สุดที่จะต้องรักษาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเรื่อง ศาสนา ชาติกําเนิด และความรักชาติ ซึ่งจะต้องเป็นสิ่งที่ควรหวงแหนไว้มากกว่าสิ่งใด ๆทั้งสิ้น
2. ความชั่วร้ายของคน ( Wickedness of Man )
เช่นเดียวกับความคิดของโทมัส ฮอบส์ พวกอนุรักษ์นิยมเชื่อว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมๆกับธรรมชาติที่โหดร้าย น่ากลัว ดังนั้นมนุษย์จึงต้องการรัฐบาลมาช่วยทําให้สังคมมนุษย์ไร้ซึ่งความวุ่นวายและป่าเถื่อน
โดยใช้กฎหมายและศาสนา พวกอนุรักษ์นิยมจึงไม่เชื่อในตัวมนุษย์ ตรงกันข้ามพวกอนุรักษ์นิยมเชื่อในหลักกฎหมายและสถาบันซึ่งมีการวางรากฐานมายาวนานและมั่นคง
โดยใช้กฎหมายและศาสนา พวกอนุรักษ์นิยมจึงไม่เชื่อในตัวมนุษย์ ตรงกันข้ามพวกอนุรักษ์นิยมเชื่อในหลักกฎหมายและสถาบันซึ่งมีการวางรากฐานมายาวนานและมั่นคง
3. ประสบการณ์ ( Experience )
อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมมีแนวคิดที่เชื่อมั่นในประสบการณ์มากกว่าเหตุผล ซึ่งไม่ได้หมายความว่าพวกนี้จะเป็นผู้ไม่มีเหตุผล หากแต่พวกเขาไม่เชื่อในแบบร่างของการปฏิวัติไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง เพราะเขามีความเห็นในแง่ลบต่อธรรมชาติของมนุษย์ ไม่เชื่อว่ามนุษย์จะเป็นผู้ใช้หลักเหตุผลได้อย่างถูกต้อง
4. ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน ( Gradual Change )
พวกอนุรักษ์นิยมไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เขาต้องการให้มันเกิดขึ้นอย่างค่อย ๆเป็นค่อย ๆไป ดังนั้นพวกอนุรักษ์นิยมจึงมีความหวาดกลัวต่อการปฏิวัติเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นการถอนรากถอนโคนระบบสังคมแบบเดิม หากเลือกได้เขาจะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ
5. เสรีภาพ ( Liberty )
อนุรักษ์นิยมไม่ชอบความเท่าเทียมกัน เพราะมันจะเป็นอันตรายต่อเสรีภาพ โดยเนื้อแท้เขาสนับสนุนรัฐบาลที่มีรากฐานอยู่ที่การเป็นผู้ดี และต่อต้านพวกทุนนิยมที่แสวงหาอํ านาจด้วยความรํ่ ารวย และต่อต้านระบอบประชาธิปไตย เพราะมันอยู่ตรงกันข้ามกับระเบียบและความมั่นคง
6. ความหลากหลาย ( Diversity )
พวกอนุรักษ์นิยมไม่เชื่อในความเป็นสากล เขาเชื่อว่าถึงแม้ว่ากฎหมายบางฉบับจะใช้การได้ดีในประเทศหนึ่ง แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะใช้ได้ดีในทุก ๆ ประเทศ ดังนั้นประเทศแต่ละประเทศควรจะมีวิถีการพัฒนาเป็นของตัวเอง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละประเทศ
7. รัฐบาล ( Government )
รัฐบาลในความคิดของพวกอนุรักษ์นิยมไม่ใช่สิ่งที่ชั่วร้าย รัฐบาลเป็นสิ่งที่จํ าเป็นที่จะรักษาไว้ซึ่งระเบียบเรียบร้อยและความมั่นคงในศตวรรษที่ 20 อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมมีความเปลี่ยนแปลงในตัวเองอย่างมากถึงแม้ว่าแนวความคิดในเรื่องหลัก ๆจะยังคงเหมือนเดิม แต่เรื่องแนวคิดเรื่องวิถีทางเศรษฐกิจของพวกเขาเปลี่ยนแปลงไป
พวกอนุรักษ์นิยมใหม่ ( Neo Conservatism ) จะมีแนวคิดคล้ายพวกเสรีนิยมเก่าในเรื่องทางด้านเศรษฐกิจ โดยต้องการให้รัฐบาลถูกจํากัดอํานาจในการเข้าไปแทรกแซงทางเศรษฐกิจปัจจุบันทั้งพวกอนุรักษ์นิยมใหม่และพวกเสรีนิยมใหม่มีความคาบเกี่ยวกันในหลายด้าน แม้กระทั่งในคน ๆ เดียวกัน ในบางกรณีอาจเป็นอนุรักษ์นิยม ในบางกรณีอาจเป็นเสรีนิยม
อุดมการณ์ทั้ง 2 ประการจึงไม่สามารถถูกเรียกได้ว่าอยู่ที่ใดที่หนึ่งตลอดไป มันได้ถูกนํามาใช้อธิบายแนวความคิดของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เราไม่จํ าเป็นต้องขังตัวเองอยู่ในอุดมการณ์แบบใดแบบหนึ่ง เพียงแต่เข้าใจว่าแต่ละประเด็นที่กํ าลังวิเคราะห์กันอยู่นั้นเรายืนอยู่บนจุดใดก็น่าจะเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้ว
พวกอนุรักษ์นิยมใหม่ ( Neo Conservatism ) จะมีแนวคิดคล้ายพวกเสรีนิยมเก่าในเรื่องทางด้านเศรษฐกิจ โดยต้องการให้รัฐบาลถูกจํากัดอํานาจในการเข้าไปแทรกแซงทางเศรษฐกิจปัจจุบันทั้งพวกอนุรักษ์นิยมใหม่และพวกเสรีนิยมใหม่มีความคาบเกี่ยวกันในหลายด้าน แม้กระทั่งในคน ๆ เดียวกัน ในบางกรณีอาจเป็นอนุรักษ์นิยม ในบางกรณีอาจเป็นเสรีนิยม
อุดมการณ์ทั้ง 2 ประการจึงไม่สามารถถูกเรียกได้ว่าอยู่ที่ใดที่หนึ่งตลอดไป มันได้ถูกนํามาใช้อธิบายแนวความคิดของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เราไม่จํ าเป็นต้องขังตัวเองอยู่ในอุดมการณ์แบบใดแบบหนึ่ง เพียงแต่เข้าใจว่าแต่ละประเด็นที่กํ าลังวิเคราะห์กันอยู่นั้นเรายืนอยู่บนจุดใดก็น่าจะเป็นสิ่งที่เพียงพอแล้ว
ฟาสซิสม์
Fascism
คํ าว่าฟาสซิสม์ ถูกนํามาใช้หลายครั้งในการศึกษาการเมืองการปกครอง ที่จริงอุดมการณ์นี้เป็นอุดมการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่มาก คือในศตวรรษที่ 20 นี้เอง มีต้นกําเนิดที่ประเทศอิตาลี ( ในการปฏิวัติ Fasci d’azione rivoluzionaria ) ในปี 1914 - 1915 รัฐบาลฟาสซิสม์ถูกจัดตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อนํ าอิตาลีเข้าสู่สงครามภายใต้การนําของเบนิโตมุสโสลีนี ( Benito Mussolini )
ฟาสซิสม์ เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่เพิ่มประสิทธิภาพในทางการผลิตมากที่สุดภายในเวลาที่น้อยที่สุด เพราะภายใต้ฟาสซิสม์ สังคมจะดํ าเนินไปพร้อม ๆ กันภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกัน ไม่มีใครคัดค้านการนําของผู้นําสูงสุด ในแง่หนึ่งฟาสซิสม์จึงเป็นอุดมการณ์ที่อันตราย เพราะไม่มีฝ่ายใดจะช่วยถ่วงดุลการใช้อํานาจของผู้นําไว้ได้เลย
ส่วนความหมายของคํ าว่าฟาสซิสม์ ( Fascism ) นั้นถูกนํามาใช้จากศัพท์ลาตินว่า Fasces ซึ่งแปลว่าการผูกไว้ด้วยกัน แต่ใช้ในความหมายว่า อํานาจที่มาจากความสามัคคี ชาติที่นําแนวความคิดแบบฟาสซิสม์มาใช้นอกจากอิตาลีแล้วยังมี ประเทศอื่นที่นําไปใช้อีกคือ สเปนภายใต้การนํ าของนายพลฟรังโก ( Francisco Franco ) และโปรตุเกสภายใต้การนําของซาลซาร์ ( Antonio Salzar ) นอกจากยังมีนายพล ปิโนเช่ ( Augusto Pinochet ) และปัจจุบันมีคนนอกประเทศสิงคโปร์มักจะพูดกันว่าสิงคโปร์ ภายใต้อิทธิพลของลีกวนยูก็เป็นฟาสซิสม์ในอีกรูปแบบหนึ่งเหมือนกัน แนวความคิดของฟาสซิสม์พอสรุปใจความสํ าคัญได้ดังนี้
ฟาสซิสม์ เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่เพิ่มประสิทธิภาพในทางการผลิตมากที่สุดภายในเวลาที่น้อยที่สุด เพราะภายใต้ฟาสซิสม์ สังคมจะดํ าเนินไปพร้อม ๆ กันภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกัน ไม่มีใครคัดค้านการนําของผู้นําสูงสุด ในแง่หนึ่งฟาสซิสม์จึงเป็นอุดมการณ์ที่อันตราย เพราะไม่มีฝ่ายใดจะช่วยถ่วงดุลการใช้อํานาจของผู้นําไว้ได้เลย
ส่วนความหมายของคํ าว่าฟาสซิสม์ ( Fascism ) นั้นถูกนํามาใช้จากศัพท์ลาตินว่า Fasces ซึ่งแปลว่าการผูกไว้ด้วยกัน แต่ใช้ในความหมายว่า อํานาจที่มาจากความสามัคคี ชาติที่นําแนวความคิดแบบฟาสซิสม์มาใช้นอกจากอิตาลีแล้วยังมี ประเทศอื่นที่นําไปใช้อีกคือ สเปนภายใต้การนํ าของนายพลฟรังโก ( Francisco Franco ) และโปรตุเกสภายใต้การนําของซาลซาร์ ( Antonio Salzar ) นอกจากยังมีนาย
1. แนวความคิดเรื่องรัฐ ( State )
ฟาสซิสม์มีแนวความคิดว่ารัฐมีความสํ าคัญกว่าปัจเจกบุคคล ซึ่งอยู่คนละขั้วกับเสรีนิยม เพราะเสรีนิยมมองว่าหน้าที่ของรัฐคือการปฏิบัติต่อปัจเจกบุคคล แต่ฟาสซิสม์มองกลับกันคือ ปัจเจกบุคคลจะต้องปฏิบัติรับใช้รัฐ รัฐในความหมายของฟาสซิสม์จึงมีอํานาจเผด็จการ
มุสโสลินีมองประเด็นนี้ว่ารัฐเป็นCorporate State โดยประชาชนและกลุ่มธุรกิจต้องทํางานเพื่ออุทิศแก่รัฐ รัฐบาลจะเป็นผู้ชี้ขาดและมีอํ านาจสูงสุด ซึ่งต่างกับมาร์กซิสเช่นเดียวกันเพราะเป็นการแบ่งแยกชนชั้นกันชัดเจนระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง นอกจากนี้รัฐบาลของฟาสซิสม์ยังควบคุม
มุสโสลินีมองประเด็นนี้ว่ารัฐเป็น
ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การสื่อสาร ห้องสมุด และองค์ความรู้ต่าง ๆท่านคิดว่าในประเทศไทยเคยมีการปกครองแบบฟาสซิสม์หรือเปล่า ?
2. ชาตินิยม ( Nationalism )
ฟาสซิสม์มุ่งเน้นความเป็นชาติ ซึ่งตรงกันข้ามกับอุดมการณ์สังคมนิยมที่มุ่งไปสู่ความไร้ซึ่งพรมแดนของรัฐชาติ ความเป็นชาติมีความหมายถึงประชาชนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน ลัทธิฟาสซิสม์สนับสนุนให้ประชาชนอุทิศตนเองให้กับชาติเหนือสิ่งใด ๆ ทั้งมวล
3. ต่อต้านเสรีนิยม ( Anti - Liberalism )
ฟาสซิสม์ไม่ได้ต่อต้านรัฐที่เป็นเสรีนิยมเท่านั้น แต่ฟาสซิสม์ยังต่อต้านแนวความคิดของพวกเสรีนิยมทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นระบบการเมืองแบบรัฐสภา ฟาสซิสม์มองว่าไม่มีความจําเป็นที่จะต้องมีพรรคฝ่ายค้าน เพราะจะทํ าให้ประเทศพัฒนาไปอย่างเชื่องช้าเพราะมัวแต่ถกเถียงกัน
4. ลัทธิทหารนิยม ( Militarianism )
ลัทธิทหารนิยมถูกนํามาใช้เพื่อสร้างอํานาจเด็ดขาดสําหรับผู้นําของประเทศฟาสซิสม์ ในกรณีของนโยบายระหว่างประเทศ ลัทธิฟาสซิสม์มักจะรุกรานประเทศอื่น ๆ เพื่อดินแดนเพิ่มเติม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อิตาลีรุกรานเอธิโอเปีย เช่นเดียวกับฮิตเลอร์ที่ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายด์และบุกประเทศโปแลนด์ในช่วงเดียวกัน ส่วนภายในประเทศลัทธิทหารนิยมก็จะถูกนํ ามาใช้ปราบปรามผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งกับผู้นํ า
5. ความเป็นเผด็จการ ( Dictator )
ลักษณะที่สํ าคัญอีกประการหนึ่งของลัทธิฟาสซิสม์คือความเป็นเผด็จการของผู้นํ าประเทศแต่เพียงผู้เดียว ในลัทธินาซีเยอรมันผู้นํ ามีเพียงคนเดียวคือฮิตเลอร์ นอกจากนี้ยังมีการเชิดชูผู้นํ าหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการติดรูปขนาดใหญ่ การสร้างรูปปั้นของผู้นํ าทั่วประเทศ และได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความฉลาดสูงสุด และมักจะทํ าอะไรถูกไปหมด
6. ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ( Anti - Communism )
ฟาสซิสม์มักจะต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่เสมอ ถึงแม้ว่าฟาสซิสม์จะมีอะไรหลายอย่างคล้ายคลึงกับลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ตาม ด้วยฟาสซิสม์เป็นศัตรูโดยตรงกับลัทธิคอมมิวนิสต์นี่เอง ในช่วงสงครามเย็นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงใช้ประเทศเผด็จการทหารแบบฟาสซิสม์เป็นเครื่องมือในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ เช่นในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ เป็นต้น
บางครั้งเราอาจได้ยินคําว่านาซี ( National Socialism หรือ Nazism ) ได้ถูกนํามาใช้รวมกับฟาสซิสม์เหมือนกัน นาซีภายใต้การนําของฮิตเลอร์ ( Adolf Hitler ) ถึงแม้ว่านาซีจะมีจุดร่วมเดียวกับฟาสซิสม์ในหลายประเด็น แต่นาซีก็มีความแตกต่างจากฟาสซิสม์เหมือนกัน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเชื้อชาติ ( Racism ) โดยฮิตเลอร์ได้ชูประเด็นความสูงสุดของเชื้อชาติอารยัน และการต่อต้านคนเชื้อสายยิว ในหนังสืออัตชีวประวัติของฮิตเลอร์ชื่อ Mein Kampf ( My Struggle ) ได้เขียนไว้ว่าเชื้อสายนอร์ดิกอารยัน ( Nordic Aryan ) เป็นเชื้อสายที่ดีว่าเชื้อสายอื่น ๆ โดยทั่วไป
ดังนั้นนโยบายของนาซีก็คือการทํ าให้คนอารยันมีอํ านาจปกครองเหนืออารยธรรมอื่น ๆ ที่ปกครองโดยเชื้อสายอื่น ๆ และต้องทํ าลายเชื้อชาติยิวให้สิ้นซาก เพราะเชื้อชาติยิวเป็นเชื้อชาติของซาตานบนโลกมนุษย์แต่ที่สําคัญที่สุดก็คือต้องรักษาความบริสุทธิ์ของเชื้อสายอารยันไม่ให้ถูกผสมผสานโดยเชื้อสายอื่น ๆ ที่ตํ่ ากว่า
บางครั้งเราอาจได้ยินคําว่านาซี ( National Socialism หรือ Nazism ) ได้ถูกนํามาใช้รวมกับฟาสซิสม์เหมือนกัน นาซีภายใต้การนําของฮิตเลอร์ ( Adolf Hitler ) ถึงแม้ว่านาซีจะมีจุดร่วมเดียวกับฟาสซิสม์ในหลายประเด็น แต่นาซีก็มีความแตกต่างจากฟาสซิสม์เหมือนกัน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเชื้อชาติ ( Racism ) โดยฮิตเลอร์ได้ชูประเด็นความสูงสุดของเชื้อชาติอารยัน และการต่อต้านคนเชื้อสายยิว ในหนังสืออัตชีวประวัติของฮิตเลอร์ชื่อ Mein Kampf ( My Struggle ) ได้เขียนไว้ว่าเชื้อสายนอร์ดิกอารยัน ( Nordic Aryan ) เป็นเชื้อสายที่ดีว่าเชื้อสายอื่น ๆ โดยทั่วไป
ดังนั้นนโยบายของนาซีก็คือการทํ าให้คนอารยันมีอํ านาจปกครองเหนืออารยธรรมอื่น ๆ ที่ปกครองโดยเชื้อสายอื่น ๆ และต้องทํ าลายเชื้อชาติยิวให้สิ้นซาก เพราะเชื้อชาติยิวเป็นเชื้อชาติของซาตานบนโลกมนุษย์แต่ที่สําคัญที่สุดก็คือต้องรักษาความบริสุทธิ์ของเชื้อสายอารยันไม่ให้ถูกผสมผสานโดยเชื้อสายอื่น ๆ ที่ตํ่ ากว่า
Credit
- User be : endure
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น